การพัฒนาทักษะความปลอดภัยในการปฏิบัติงานโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการใช้อินโฟกราฟิกของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

มารุดิศ วชิรโกเมน
พิชญ์นันท์ รักษาวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและอินโฟกราฟิกของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อศึกษาทักษะความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการพัฒนาทักษะความปลอดภัยในการปฏิบัติงานโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการใช้อินโฟกราฟิก กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 18 คน ด้วยวิธีการเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและอินโฟกราฟิกของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 14 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน จำนวน 60 ข้อ และ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและอินโฟกราฟิกของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 18 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1) คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและอินโฟกราฟิกของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.58) และเมื่อทดลองกับกลุ่มเป้าหมายมีประสิทธิภาพ 73.69/79.81 เป็นไปตาม 70/70
2) กลุ่มเป้าหมายมีทักษะความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะความปลอดภัยในการปฏิบัติงานโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการใช้อินโฟกราฟิกในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.23)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมสันต์ เหล็มมะ, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, และ ธานี แก้วธรรมานุกูล. (2561). การบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. พยาบาลสาร, 45(4), 56-70.

ชนาธิป พรกุล. (2557). การสอนกระบวนการคิด : ทฤษฎีและการนำไปใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ทวี. พริ้นท์ (1991).

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัชชา อู่เงิน, อมรรัตน์ ช่อประพันธ์, อรวรรณ เจริญรัตน์, มัณณธูร จารุโณปถัมภ์, และ เจษฎากรณ์ รันศรี. (2566). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(4), 310-321.

พงษ์สิทธิ์ ศิริฤกษ์อุดมพร. (2566). การเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของไทย.OSHE นิตยสารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน, 7(21), 29–30.

พฤทธ์ฤทธิ์ เลิศลีลากิจจา. (2566). ร่วมสร้างวัฒนธรรมไทยเชิงป้องกันสู่ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและความผาสุกที่ยั่งยืน. OSHE นิตยสาร ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน, 7(21), 16–17.

พัชรินทร์ วิหคหาญ, นิศากร เยาวรัตน์, และ รุ่งทิพย์ ไชยโยยิ่งยงค์. (2022). ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง การพยาบาลมารดาและทารก. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 28(1), 1-17.

Prince, Michael. 2004. Does active learning work? A review of the research. Journal of Engineering Education, 93(3): 223-231

รัศมี ศรีนนท์, อุดมกฤษฏิ์ ศรีนนท์, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์, และ กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 331–343.

วิษณุ บัวเทศ, สุนทรีย์ ดวงทิพย์, และ ไพโรจน์ เนียมนาค. (2014). กลยุทธ์การพัฒนาทักษะนักศึกษาช่างอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่างสู่การเป็นประชาคมอาเซียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 92-103.

สรรชัย ชูชีพ. (2021). การใช้สถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาทักษะด้านการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 5(1),109-116.

สัญลักษณ์ วัฒนาเฉลิมยศ, และ สรัญญา เชื้อทอง. (2019). การศึกษาผลของการเรียนรู้ของผู้ปกครองโดยใช้ชุดสื่ออินโฟกราฟิกร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลองเปรียบเทียบกับผลการเรียนรู้ของผู้ปกครองด้วยวิธีปกติ เรื่อง วิธีใช้ยาละลายขี้หูที่ถูกต้องให้กับบุตรหลาน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 12(4), 1063-1078.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สืบตระกูล ตันตลานุกุล, ดุจเดือน เขียวเหลือง, สิตานันท์ ศรีใจวงศ์, สุริยา ฟองเกิด, และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการใช้ยารักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(1), 57-72.

Azila, A., & Muhamad, F. (2022). Infographics in Teaching and Learning: An Attention Grabber. Innovating Education for A Better Tomorrow. International University Carnival on E-Learning (IUCEL) Proceedings 2022. Centre for Academic Development (CADe). 227–231.

Niharika, S., Gaurav, K. R., Vivek, K., & Tushar, M. (2022, 16-17 December ). Infographics based Teaching Learning Process for Enriching Education System. 11th International Conference on System Modeling & Advancement in Research Trends (SMART). Moradabad, India. DOI: 10.1109/SMART55829.2022.10046752