การวิเคราะห์ผลตอบแทนและกำหนดราคาขายการผลิตข้าวเกรียบผักสมุนไพร ของวิสาหกิจชุมชน บ้านบะยาว หมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

นฤมล อริยพิมพ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลตอบแทนและจุดคุ้มทุน และกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบผักสมุนไพร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกของวิสาหกิจชุมชน บ้านบะยาว หมู่ที่ 6   ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 16 ราย โดยใช้แบบสอบถามเชิงสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สูตรทางการบัญชี ผลการวิจัย พบว่า ต้นทุนการผลิตทั้งหมดต่อกิโลกรัม เท่ากับ 155.44 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง เท่ากับ 43.76 บาท ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง เท่ากับ 100 บาท และ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิต เท่ากับ 11.68 บาท ปริมาณขายที่คุ้มทุนอยู่ที่ 46.80 กิโลกรัม และหากรวมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 0.31 บาท ต้นทุนรวมทั้งสิ้น เท่ากับ 155.75 บาท ทำให้ราคาขายที่คุ้มทุนอยู่ที่ 156 บาทต่อกิโลกรัม อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนการผลิต เท่ากับร้อยละ 79.48 และอัตรากำไรขั้นต้นต่อราคาขาย เท่ากับร้อยละ 44.28 การกำหนดราคาขายโดยวิธีต้นทุนรวมราคาขายที่เหมาะสมต้องไม่ต่ำกว่า 156 บาท ซึ่งการกำหนดราคาสินค้าจะพิจารณาจากต้นทุนทั้งหมดบวกกำไรที่ต้องการ เช่นหากต้องการกำไร ร้อยละ 50 ราคาขายที่เหมาะสมเท่ากับ 234 บาท หรือ หากต้องการกำไร ร้อยละ 90 ราคาขายที่เหมาะสมเท่ากับ 295 บาท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทนา เกิดเส็ง, พิริญา เปียงแก้ว และ อารียา บุญโฉม. (2564). โครงงานศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการทำข้าวเกรียบ กรณีศึกษาข้าวเกรียบคุณจันทร์แรม บ้านแหลมคูณ ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์. [โครงงานหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการบัญชี, วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์]. Anyflip. https://online.anyflip.com/mspjx/rawj/mobile

นฤมล อริยพิมพ์. (2561). การบัญชีชั้นกลาง 1 (พิมพ์ครั้งที่ 1). ชัยมงคลปริ้นติ้ง.

นิศานาถ บัวทอง. (2561). การจัดการการตลาดผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปลาของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปัตตานี. [สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://www.economics.psu.ac.th/econapp/MABThesis/FileUpload/5611221019

ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2561). การบัญชีเพื่อการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). แสงดาว.

สัมฤทธิ์ ศิริคะเณรัตน์ และ นีรนาท เสนาจันทร์. (2565). ปัญหาการจัดการต้นทุนการผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(2), 170-182.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ. (2560, 21 พฤศจิกายน). ข้อมูลวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ. https://www2.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=953&filename =index

อัปสร อีซอ, ปวีณา เจะอารง, สุธิดา วัฒนยืนยง และ กูมัจดี ยามิรูเต็ง. (2554). การพัฒนาการตลาดผลิตภัณฑ์หัวข้าวเกรียบ (ปาลอ-กรือโป๊ะ) สู่ธุรกิจแฟรนไชส์. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.