การศึกษาการมีส่วนร่วมทางสื่อสังคมออนไลน์ของแบรนด์เครื่องสำอางไทยวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าผู้หญิงกลุ่มมิลเลนเนียล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมทางสื่อสังคมออนไลน์ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุของการมีส่วนร่วมทางสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางของลูกค้าผู้หญิงกลุ่มมิลเลนเนียลทั้งทางตรงและทางอ้อม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็นและการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง ตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรทและทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรอิสระรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมทางสื่อสังคมออนไลน์ด้านการส่งต่อเนื้อหา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทัศนคติในด้านการจูงใจ การถูกกระตุ้นความต้องการซื้อจากสื่อบันเทิงที่แบรนด์นำเสนอ อยู่ในระดับมากที่สุด และพฤติกรรมการซื้อที่พบสูงสุด คือ การเปรียบเทียบข้อมูลสินค้าในด้านคุณภาพและราคา ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (p- value = 0.372) โดยการมีส่วนร่วมทางสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อทัศนคติของลูกค้า และมีอิทธิพลทางอ้อมในเชิงบวกต่อพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าโดยผ่านทัศนคติ สามารถนำไปส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางสื่อสังคมออนไลน์ของลูกค้าเพื่อให้เกิดการซื้อสินค้า โดยการใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และผู้มีอิทธิผลทางสื่อสังคมออนไลน์ในการนำเสนอเนื้อหาเพื่อดึงดูดและสร้างความเชื่อมั่น กระตุ้นให้ลูกค้าเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน นำไปสู่การเกิดทัศนคติที่ดีต่อแบรนด์ เมื่อลูกค้ามีทัศนคติที่ดีต่อแบรนด์ จึงจะนำไปสู่การเพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าของลูกค้าได้มากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ พัฒนากลยุทธ์แบรนด์ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธานินทร์ ศิลป์ จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้ง ที่ 11. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
มาริสา กันจินะ. (2561). การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ทัศนคติ และพฤติกรรม การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ความสวย ความงามแบรนด์บีซีเคร็ทของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.
วุฒิ สุขเจริญ. (2561). วิจัยการตลาด.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ahmed Mohamed Omar (2021). The effect of social media marketing activities on customer-brand relationship in the Egyptian cosmetic sector. Journal of Faculty of Economics and International Trade, Egyptian Chinese University, Cairo, Egypt, 3(12), https://doi.org/10.21608/jces.2021.202890
Ajzen, I. & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.
Botelho, M. F. M. (2019). The impact of influencers in the consumer's purchase intention: The cosmetic industry [Master's thesis, University Institute of Lisbon]. https://repositorio.iscteiul.pt/bitstream/10071/19346/4/master_marcia_martins_botelho.pdf
Feng Yu, Qian Wenhao & Zhou Jinghong (2022). Nexus between Consumer’s Motivations and Online Purchase Intentions of Fashion Products: A Perspective of Social Media Marketing.Sec. Organizational Psychology, https ://doi.org/10.3389/fpsyg.2022.892135
Gede Agni Temaja & Ni Nyoman Kerti Yasa (2019). The Influence of Word of Mouth on Brand Imange and Purchase Intention (A study on the potential customers of Kakiang Garden Cafe Ubud). International Journal of Business Management and Economic Research (IJBMER), Vol 10(1), 1552-1560.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis (7th ed.). Harlow: Pearson Education Limited.
Kline, R. B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling (3rd ed.). New York: The Guilford Press.
Schiffman, L. & Kanuk, L. (1997). Consumer Behavior. Prentice Hall, 1997.
Yuvika Gupta. (2020). Examining the role of Celebrity on social media during Covid-19. Journal of Xi'an University of Architecture & Technology, 491-505.