แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 306 คน จากการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการสื่อสารและสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ ด้านการเป็นพลเมืองยุคดิจิทัล ด้านการพัฒนาสู่ความเป็น มืออาชีพด้านดิจิทัล ด้านการบริหารและการจัดการเรียนรู้ด้วยดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศ การเรียนรู้ยุคดิจิทัล และด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ทั้ง 6 ด้าน มีแนวทางการพัฒนาด้านละ 3 แนวทาง รวมทั้งหมด 18 แนวทาง ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Thailand). กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
จุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2551). คู่มือเทคนิคการปรับปรุงและพัฒนาองค์การ เวอร์ชั่น 1.0 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
บงกช เวียงคำ, ชาญวิทย์ หาญรินทร์ และ ไพฑูรย์ พวงยอด. (2566). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(1), 49-63.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2550). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มุ่งสู่อนาคต. พิมพ์ ตะวัน.
ปุญญฤทธิ์ วิทยอุดม. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ : กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2550). รูปแบบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน. [วิทยานิพนธปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำการดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก.
สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 353 -360.
ออระญา ปะภาวะเต. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 191-200.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). http://www.trueplookpanya.com/Knowledge/content/52232/-edu-t2s1-t2-t2s3-
Krejcie,R.V.,& D.W. Morgan.(1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.