ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแบรนด์จากประเทศจีนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

Yun Zhang
ฐิตารีย์ ศิริมงคล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแบรนด์ จากประเทศจีนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ตราสินค้าของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแบรนด์จากประเทศจีน ในมุมมองของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแบรนด์จากประเทศจีน ของผู้บริโภค   ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนแบรนด์จากประเทศจีน ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงประมาณโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 18 - 22 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพนักเรียน นักศึกษา และอาชีพอิสระ โดยมีรายได้เฉลี่ยที่ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาทต่อเดือน ปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้า พบว่า ทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านคุณภาพ และคุณประโยชน์ และพบว่าปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้า ที่ส่งผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแบรนด์จากประเทศจีน ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพ ด้านบุคลิกภาพตราสินค้า ด้านคุณประโยชน์ และด้านคุณสมบัติ ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้ง 4 ตัวนี้มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนแบรนด์จากประเทศจีนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 28.3, 21.4, 18.2 และ 16.0 ตามลำดับ (adjusted R2 = .283, .214, .182, .160)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตติมา จันทรพร และ ญาฎา ศรีวิฑูรย์. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าโทรศัพท์สมาร์ทโฟนจากประเทศจีนที่ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์]. https://repository.rmutr.ac.th/xmlui/handle/123456789/1181

จุฑารัตน์ ชัยบรรหาร และ ทรงพร หาญสันติ. (2561). อัตลักษณ์และภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ Ford ประเภท Pick-up ของผู้บริโภคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เฉิน เฉิง. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนแบรนด์จีนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณฐมน กัสปะ และ ฐิตารีย์ศิริมงคล. (2564). ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (เฟสบุ๊ค) ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 100-114.

ณัฐพร ดิสนีเวทย์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าที่มีต่อตราสินค้าร้านคาเฟ่ขนมหวานในห้างสรรพสินค้า. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

เบญญา หวังมหาพร และ พิทพย์รัตน์ เลาหวิเชียร์. (2563). ผลของความไว้วางใจและคุณค่าที่รับรู้ได้ต่อการตั้งใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กของผู้ใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ BU Academic Review, 19(2). 151-163.

ปูชิตา เลิศธรรมจินดา. (2557). อิทธิพลของคุณค่าที่รับรู้และภาพลักษณ์ตราสินค้าต่อความไว้เนื้อ เชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาซื้อซ้ำของผู้บริโภคโทรศัพท์มือถือยี่ห้อซัมซุง. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พิมพ์ชนก กุลจรัสธนา และ ชุติมาวดี ทองจีน. (2561, 8 มิถุนายน). การส่งเสริมการตลาด ภาพลักษณ์ตราสินค้า และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร [บทความการประชุมวิชาการ]. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ (UTCC Academic Day) ครั้งที่ 2. https://scholar.utcc.ac.th/server/api/core/bitstreams/ef0f4742-80aa-4e82-86b8-013a04fd08dd/content

ภัทราวดี มีลักษณ์ และ สุมาลี สว่าง. (2564). ปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและปัจจัยด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ายี่ห้อคลอเส็ท. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรังสิต. https://rsuirlibrary.rsu.ac.th/bitstream/123456789/338/1/Phattarawadee%20%20Meelak.pdf

วรัชญา ธนูศิลป์ และ สุมาลี สว่าง. (2564). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางยูเซอรินของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรังสิต. https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/rgrc/article/view/2338/1949

วิรานนท์ ตุ้มสูงเนิน และ สุมาลี สว่าง. (2564). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มวิตามินซี C-vitt ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรังสิต. https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/rgrc/article/view/2385/1963

เสาวนีย์ ขจรเทวาวงศ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนตราสินค้าจีนของผู้บริโภคคนไทย. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โอภาส คำวิชัย. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีและปัจจัยด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ การ์ดจอของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Spring News. (2022, 11 มกราคม). ส่องตลาดสมาร์ทโฟน 2023 และภาพรวม 2022 ปีแห่งความซบเซาของทุกแบรนด์. https://www.springnews.co.th/news/infographic/832930.

Thamonton Marketeer. (2022, 11 มกราคม). ตลาดมือถือในไทยท้ายปี 2022 ชิงแชร์เดือด. https:// marketeer- online.co/archives/285340.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. John Wiley & Sons.