แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สุรีย์ลักษณ์ รักษาเคน
ทัศนีย์ นาคุณทรง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น 2) สร้างแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น ระเบียบวิธีการวิจัยสถิติเชิงพรรณา กลุ่มตัวอย่างเป็น ครู 220 คน กำหนดขนาดโดยใช้สูตร Taro Yamane  ที่ความคลาดเคลื่อน .05 สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC เท่ากับ 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่น    ทั้งฉบับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวม อยู่ในระดับ  มากที่สุด 2) สรุปแนวทางพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น  มี 3 แนวทาง 6 ประเด็นย่อย 23 กิจกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2566, 16 กันยายน). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570). http://www.dla.go.th/.

นราภรณ์ วงศ์พระคุณ. (2555). การพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดเชียงราย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10), กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น.

มะลิวัน สมศรี. (2558). การพัฒนาคู่มือพัฒนาสมรรถนะทางวิชาการของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วนิดา ภูชานิ,วัฒนา สุวรรณไตรย์ และ ไชยา ภาวะบุตร. (2564).การพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 155-169.

วิจารณ์ พาณิช. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร (พิมพ์ครั้งที่ 2). มูลนิธิสยามกัมมาจล.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2559). สมรรถนะสำคัญของผู้บริหารมืออาชีพ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สายรุ้ง เหล็กแปง. (2561). การศึกษาสมรรถนะครูปฐมวัยของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พริกหวานกราฟฟิค.

อนุศรา อุดทะ. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตไม่ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อังคณา บุญพามี. (2556). การพัฒนาสมรรถนะครูผู้ดูแลเด็กกับการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.