การจัดกิจกรรมเกมดนตรี เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

อาทิติยา วงค์คำ
รุ่งลาวัลย์ ละอำคา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมเกมดนตรี เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลัง ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมดนตรี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กชาย - หญิง อายุระหว่าง 4 – 5 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 20 คน ของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาล สว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมเกมดนตรี เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย 8 หน่วยการเรียนรู้ หน่วยละ 3 แผน รวมทั้งสิ้น 24 แผน 2) แบบทดสอบทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย 2 ทักษะ คือ ทักษะการฟังจำนวน 20 ข้อ และทักษะการพูดจำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดกิจกรรมเกมดนตรี โดยใช้กระบวนการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ ขั้นที่ 2 ชี้แจงและอธิบายกิจกรรม ขั้นที่ 3 ดำเนินกิจกรรม ขั้นที่ 4 สร้างสรรค์ และขั้นที่ 5 สรุป ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางทักษะภาษาอังกฤษ ทั้ง 2 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการฟังและทักษะการพูดภาษาอังกฤษสูงขึ้น 2) เปรียบเทียบทักษะทางภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรมเกมดนตรี และหลังการจัดกิจกรรมเกมดนตรี พบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมเกมดนตรี เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับระดับพอใช้ (equation= 8.20) และหลังการจัดกิจกรรมเกมดนตรี เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาอังกฤษในระดับดี (equation= 22.70) แสดงว่าก่อนการทดลองและหลังการทดลองการจัดกิจกรรมเกมดนตรี เด็กปฐมวัยมีผลคะแนนการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษโดยเฉลี่ยรวมทุกทักษะเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุธศักราช 2560. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ธิดา พิทักษ์สินสุข. (2019). วิกฤตปฐมวัยกระทบอนาคตชาติ. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 1(1), 77-89.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). สุวีริยาสาส์น.

พัชรภรณ์ ชนะชาญ และ พีระพร รัตนาเกียรติ์. (2567). การจัดประสบการณ์ด้วยเทคนิคการสอนแบบ ตอบสนองด้วยท่าทางเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.14(1), 56-68.

พภัสรัชต์ ดียิ่ง. (2561). การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเล่นเกมเบ็ดเตล็ดที่มีต่อความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ชุมชนพระยาสุเรนทร์ กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

โรงเรียนอนุบาลสว่างแดนดิน. (2565). หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลสว่างแดนดิน 2565.

Almutairi, M., & Shukri, N. (2016). Using songs in teaching oral skills to young learners: teachers’ views and attitudes. International Journal of Linguistics, 8(6), 133-153.

Finocchiaro, M., & Brumfit, C. (1983). The functional-notional approach: From theory to practice. Oxford University Press, 200 Madison Ave., New York, NY 10016.

Fogg, M. (2021). 10 Early Years Rhythm and Music Games for Toddlers. https://www.famly.co/blog/rhythm-and-music-games-toddlerschildren?fbclid=IwAR2fwwW9MED0MgAJxVMNg531eT_CjIFNHZlt6PG9T505w69M221L2fhermE

Gilmore, K. (2020). Music Games for the Classroom. https://www.twinkl.co.za/blog/music-games-for-the-classroom.

Nurvia, S. (2016). Using Song in Teaching English Speaking Skills for Young Learners (A Qualitative Research At One Of Madrasah Ibtidaiyah In Kota Cirebon) (Doctoral dissertation, IAIN Syekh Nurjati Cirebon).

Rock, A. (2022). 25 Fun Music Activities for Little Kids. https://www.verywellfamily.com/preschool-music-activities-2764608

Stanley, T. (2022). 22 Fun Music Games for the Classroom. https://kidactivities.net/music-games-for-the classroom/?fbclid=IwAR0UGYKNWm-OavB-mkd16P1KlYAh6KhMhATTtmV2DdbvahhrrXf9D_Wkdmc

Techaaphonchai, N. (2022). แนวโน้มการบูรณาการการใช้ดนตรีสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ISSN 2774-1176 (Online), 7(2), 214-223.

Tyumaseva Z.I., Orekhova I.L., Bystrai E.B., Pavlova V.I., Kamskova Y.G.Musical activity in speech development of younger preschoolers. Vestnik of Minin University, 8(2), 9.

Zhao C. T., & Kuhl, K. P. (2016). Musical intervention enhances infants’ neural processing of temporal structure in music and speech. PNAS, 113(19), 5212–5217.