ผลการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมสุขนิสัยของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารที่มีต่อ สุขนิสัยของเด็กปฐมวัย และ 2) เพื่อเปรียบเทียบสุขนิสัยของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ห้อง 1/4 ปีการศึกษา 2566 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 12 คน เลือกโดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร โดยพิจารณาความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในระดับ มากที่สุด (= 4.52, S.D.= 0.81) และแบบประเมินสุขนิสัยของเด็กปฐมวัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ 1.00 การวิจัยใช้แผนการทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารที่มีต่อสุขนิสัยของเด็กปฐมวัยใช้แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเตรียมการก่อนประกอบอาหาร ขั้นลงมือปฏิบัติกิจกรรมการประกอบอาหาร ขั้นสรุปและประเมินผล ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีสุขนิสัย ดีขึ้น 2) ผลการเปรียบเทียบสุขนิสัยของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร พบว่า หลังจากการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร เด็กปฐมวัยทุกคนมีสุขนิสัยที่สูงขึ้น โดยคะแนนค่าเฉลี่ยสุขนิสัยของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรมเท่ากับ (=11.25, S.D = 3.57) ผลรวมคะแนนที่ได้คิดเป็นร้อยละ 46.87 และคะแนนค่าเฉลี่ยสุขนิสัยของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ (= 18.83, S.D. = 3.93) ผลรวมคะแนนได้คิดเป็นร้อยละ 78.82
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ขนิษฐา บุนนาค. (2562). แนวทางการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. https://www.youngciety.com/article/journal/experience-plan.html
จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2561, 25 มกราคม). สุขภาพ ความปลอดภัยและทักษะกลไกสำหรับเด็กอนุบาล. http://www.pecerathailand.org/2018/01/666.html
ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์. (2555, 23 ตุลาคม). ประโยชน์ของการประกอบอาหารในเด็กปฐมวัย. http://daratim54.blogspot.com/2012/04/blog-post_08.html
ประทุม อังกูรโรหิต. (2543). ปรัชญาปฏิบัตินิยม: รากฐานปรัชญาการศึกษาในสังคมประชาธิปไตย. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (2554). จิตวิทยาพัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัย. http://elearning.psru.ac.th/courses/77
วรรษกร สาระกุล. (2564, 11 สิงหาคม). Covid Slide บาดแผลใหญ่ทางการศึกษา. https://www.eef.or.th/covid-slide
ศรินยา ทรัพย์วารี. (2552). ผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศุภิษรา วัฒนศิริ. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมนิทานเพื่อเสริมสร้างสุขนิสัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและ ประเมินผลการศึกษา]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สถาบันพัฒนาอนามัยแห่งชาติ, กรมอนามัย. (2564). แนวทางการส่งเสริมคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ (4D). องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักนายกรัฐมนตรี.
เสกสรร มาตรวังแสง. (2559). การศึกษารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อรพร ทับทิมศรี. (2554). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับการประกอบอาหารไทยโบราณที่มีต่อสัมพันธภาพทางสังคมของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Soleymani, M. R., Hemmati, S., Ashrafi-Rizi, H., & Shahrzadi, L. (2017). Comparison of the effects of storytelling and creative drama methods on children's awareness about personal hygiene. Journal of education and health promotion, 6, 82. https://doi.org/10.4103/jehp.jehp_56_16