การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ทิพย์สุดา ชื่นชม
รุ่งลาวัลย์ ละอำคา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้แนวคิด     เชิงออกแบบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเลี่ยมพิลึก อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ 8 หน่วยการเรียนรู้ หน่วยละ 4 แผน รวมทั้งสิ้น 32 แผน  มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด (equation= 4.85, S.D. = 0.26) และ 2) แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC = 0.96)  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการและขั้นตอนประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการทำความเข้าใจปัญหา ขั้นการกำหนดปัญหา ขั้นการระดมความคิด ขั้นการสร้างต้นแบบ และ   ขั้นการทดลองใช้ ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยสูงขึ้น 2) หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบเด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมทุกด้านเพิ่มขึ้น โดยก่อนทดลอง มีผลคะแนนระดับพอใช้ (equation=35.50, S.D. = 7.82) และหลังการทดลองมีผลคะแนนระดับดี (equation=45.33, S.D. = 5.61)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จีระพงษ์ โพพันธุ์. (2566, 26 ตุลาคม). กระบวนการคิดเชิงออกแบบ. https://kru-it.com/dt-m2/process-of-design-thinking.

จุฑามาศ แหนจอน. (2561). จิตวิทยาการรู้คิด Cognitive Psychology. แกรนด์พอยท์.

ณัฐกฤตา ไทยวงษ์. (2562). การศึกษาผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 8). บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด.

พีรดร แก้วลาย และ ขวัญ พงษ์หาญยุทธ. (2562). Design Thinking กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. ธรรมดาเพรส.

รัตนวัชร์ เพ็ญรัตนหิรัญ. (2564). การพัฒนากิจกรรมแนะแนวโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมทักษะ 4Cs สำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2566). การออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบ Leaning Experience Design (LXD) by Design Thinking. จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

โรงเรียนบ้านเลี่ยมพิลึก. (2565). รายงานการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านเลี่ยมพิลึก, ปีการศึกษา 2565. โรงเรียนบ้านเลี่ยมพิลึก.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2565). รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2563. http://academic.obec.go.th/images/document/1649148855_d_1.pdf

สุจิตรา เคียงรัมย์. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวิมล ว่องวาณิช, กษิดิศ ครุฑางคะ และ พัชราภรณ์ ทัพมาลี. (2563). DESIGNING TEACHING DESIGNING THINKING การออกแบบการสอนโดยการคิดออกแบบ. พริกหวานกราฟิก.

อรุณี หรดาล. (2563). สอนอย่างไรให้เด็กปฐมวัยคิดเป็น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์), 10(2), 211-228.

อัญชลี แสงทอง. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาและเทคนิคจิกซอว์ในรายวิชางานประกอบอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 10(2), 113-129.

Arora, S. (2023). What is Design Thinking? Why is It Important?. https://growthnatives.com/blogs/design/why-is-design-thinking-so-important/

Burnette, C. (2005). Idesign-seven ways of design thinking : A teaching resource. http://www. Idesignthinking.com.

Linda, W. and Braun. (2016). Using design thinking providing a framework for youth activities. https://www.questia.com/magazine/1G1454487964 /using-design-thinking-providing-a-framework-for-youth.