ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำทางวิชาการยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำทางวิชาการยุควิถีชีวิตใหม่ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำทางวิชาการยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 เป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน (Yamane, 1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อนในการสุ่ม 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูรวมทั้งสิ้น 337 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNI modified
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำทางวิชาการยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำทางวิชาการยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 เรียงตามลำดับดังนี้ (1) ด้านการพัฒนาและ ใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา (2) ด้านการนิเทศการสอนแนวใหม่ (3) ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ (4) ด้านการพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัย (5) ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาเชิงรุก และ (6) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ท้าทาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563–2565. https://bict.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/03/digital-63-65.pdf
จุฬาพรรณ ภักดีศรี. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําทางวิชาการในสถานการณ์ปกติใหม่ (New Normal) ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(4), 209-215.
ไชยา ภาวะบุตร. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นัตพงษ์ ช่ออังชัน. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดวิถีใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย.
พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์. (2563). “วิเคราะห์ ไทยแลนด์ 4.0: วิสัยทัศน์ชาติ ที่ยังขาดรายละเอียด”. https://www.bbc.com/thai/thailand-38527250
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2560). นโยบายและการวางแผนกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษายุคใหม่. อภิชาติการพิมพ์.
พริษฐ์ วัชรสินธุ. (2564). "โรคใหม่ - โลกใหม่ - การเรียนรู้ใหม่: อนาคตการศึกษาไทยยุคหลัง COVID-19". https://www.eef.or.th/future-of-thai-education-after-covid19/
วรรณกานต์ เชื้อสายใจ. (2563). กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารงานวิชาการในยุคความปกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายเทอดไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. [วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย]. http://edu.crru.ac.th/articles/031.pdf.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2563). New normal ทางการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (มิถุนายน, 2563). ชีวิตวิถีใหม่ สุขภาพดีเริ่มที่เรา. จดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ ฉบับสร้างสุข, ปีที่ 16 (224), 5.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5. (2566). ระบบบริการข้อมูลภาครัฐ Big DATA. http://bigdata.kkn5.go.th/tableOnet.php?op=5.1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานผลการขับเคลื่อนมาตรฐานการศึกษาของชาติ สู่การปฏิบัติ ประจำปี 2563. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อภิสิทธิ์ ไชยประสิทธิ์. (2563). Education 4.0 สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษา. http://www.cioworldmagazine.com/apisith-chaiyaprasith-education-4-0/. อ้างถึงใน ณัฐพัชร์ บุญเกตุ. (2565). การบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
อุดม ลิ้มไพบูลย์. (2565). สภาพ ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการสู่ความปกติใหม่ในสถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper and Row Publication.