กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการยุคโลกพลิกผันของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น

Main Article Content

พิทยา แหลมคม
วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และ 2) สร้างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการยุคโลกพลิกผัน ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ด้วยการวิจัยแบบผสมผสาน ระยะที่ 1 ประชากรได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 3,347 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 358 คน จากสูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อนในการสุ่ม .05 ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ขนาดสถานศึกษาเป็นเกณฑ์ แล้วสุ่มแบบง่าย ระยะที่ 2 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น ด้านที่ค่าสูงที่สุด คือ การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน รองลงมา คือ การพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา รองลงมา คือ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ 2) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการยุคโลกพลิกผันของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ (1) ยกระดับการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผล     การเรียนยุคโลกพลิกผัน มี 6 มาตรการ (2) ส่งเสริมการพัฒนาและใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษายุคโลกพลิกผันอย่างมีประสิทธิภาพ มี 6 มาตรการ (3) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับยุคโลกพลิกผัน มี 6 มาตรการ และ (4) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษายุคโลกพลิกผัน มุ่งเน้นผู้เรียน สู่ทักษะแห่งอนาคต มี 4 มาตรการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ จันทร. (2564, 18 สิงหาคม). การบริหารสถานศึกษาในยุคโลกพลิกผัน ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล. การประชุมวิชาการนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 "Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021", กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 1002-1010.

กรุณา วงษ์เทียนหลาย. (2562 ). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนพยาบาล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2562). หลักสูตรและการเรียนรู้แบบดิจิทัล. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 20(1): 200.

พงศกร อดุลพิทยาภรณ์ และนันทรัตน์ เจริญกุล. (2561). การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กตามแนวคิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 13(2): 316 - 329.

วีรพงษ์ คำผง. (2561). แนวทางส่งเสริมการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีในโรงเรียนประถมศึกษาที่สอดคล้องกับยุคการศึกษา 4.0. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาการบริหารการศึกษา], มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศศิมา สุขสว่าง. (2562). [ออนไลน์]. VUCA World ความท้าทายสำหรับผู้นำยุคใหม่. https://www.sasimasuk.com/16768188/vuca-world.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. (2565). [ออนไลน์]. รายงานสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564. https://anyflip.com/puahc/dnqj/basic.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). [ออนไลน์]. สรุปการลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. https://sp.moe.go.th/web_sp_65/info/?module=report_01_info.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ. พริกหวานกราฟฟิค.

สินีนาฎ นาสีแสน, สุมาลี ศรีพุทธรินทร์ และวัชรี แซงบุญเรือง. (2565). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 1-15.

สุทิชา ชื่นเจริญ, และ ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้าง. (2565). แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(3), 13-23.

อัมพิกา สิริพรม. (2563). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก. [(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์].จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row.