การพัฒนาทักษะทางการปฏิบัติเปียโนตามแนวคิดของ Dalcroze ของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Main Article Content

เอกชัย ธีรภัคสิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะทางการปฏิบัติเปียโนก่อนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติเปียโน โดยเป็นการวิจัยแบบผสม ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่รายวิชาปฏิบัติเปียโน 7 สาขาวิชาดนตรีศึกษา จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.86 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.84 4) แบบวัดทักษะทางการปฏิบัติเปียโน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.84 และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.90 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา มีผลคะแนนการวัดทักษะทางการปฏิบัติเปียโนตามแนวคิดของ Dalcroze หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการปฏิบัติเปียโนตามแนวคิดของ Dalcroze หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษามีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติเปียโน โดยรวมอยู่ในระดับมากและรายด้าน ได้แก่ ด้านทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านเนื้อหา ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ และ ด้านการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับมาก คุณค่าที่ได้จากงานวิจัยสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษมสันต์ ตราชู. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คณาภรณ์ รัศมีมารีย์. (2550). ชุดการเรียนการสอนสื่อเพื่อการเรียนรู้. สาธิตปทุมวัน.

ชินวัตร อ่อนสุ่น. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 19). สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระพัฒน์ เทาทา, ธีริทธิ์ กันยารอง และมุทิตา นาคเมือง. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การปฏิบัติเครื่องดนตรีเปียโนโดยใช้เปียโนจำลองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/9 โรงเรียนสรรพวิทยาคม. [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับนักศึกษา ครั้งที่ 1 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 หน้า 266 - 271. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

นันทพร ตรรกไพจิตร. (2559). การสร้างชุดการสอนเรื่องคอร์ดรายวิชาเปียโนชั้นต้น กรณีศึกษา : โรงเรียนบ้านดนตรีลำปาง จังหวัดลำปาง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพายัพ.

นิชาพิชญ พละบุรี. (2562). การพัฒนาสื่อการสอนร้องเพลงตามแนวคิดดาลโครซ (Dalcroze Method) สำหรับเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). จามจุรีโปรดักท์.

ปริยัติ นามสง่า, พงษ์พิทยา สัพโส และ พิทยวัฒน์ พันธะศรี. (2562). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เปียโนสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ว.มรภ, 13(3), 127-138.

เมธาวี นิยมสุข. (2562). การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสากลตามแนวคิดของดาลโครซเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทางดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2565, 14 กันยายน). รายชื่อนักศึกษาคณะครุศาสตร์. https://oapr.bru.ac.th.

สุธีระ เดชคำภู. (2560). การพัฒนาทักษะการปฏิบัติเปียโนและคีย์บอร์ดโดยใช้ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Hair, J., Black, W., Babin, B., Anderson, R., & Tatham, R. (2006). Multivariate Data Analysis (6thed.). Pearson Prentice.

Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. McGraw-Hill.

Rovinelli, R.J. & R.K. Hambleton. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-referenced Test Item Validity, Journal of Educational Research, 49-60.