การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพครูและผู้ปกครองโดยใช้ แนวคิดการเล่นบำบัดและการชี้แนะทางปัญญาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัย ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในจังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการสร้างรูปแบบฯ 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบฯ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู 30 คน ผู้ปกครอง 30 คน รวม 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพครูและผู้ปกครองโดยใช้แนวคิดการเล่นบำบัดและการชี้แนะทางปัญญา 2) แบบประเมินศักยภาพครูและผู้ปกครอง และ 3) แบบบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า
- ผลการศึกษาแนวทางการสร้างรูปแบบฯ พบว่า ครูและผู้ปกครองมีปัญหาและต้องการพัฒนาศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาวะและการเล่นของเด็กให้ดีขึ้น
- รูปแบบฯ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กิจกรรม มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ถักทอสายใยสานใจครูและผู้ปกครอง (2) เปิดรับประสบการณ์ (3) ร่วมวางแผน (4) ปฏิบัติการ และ (5) สะท้อนผลการปฏิบัติ 5) สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และ 6) การประเมินผล โดยรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .95
- ผลการใช้รูปแบบฯ พบว่า ครูมีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาวะเด็กเพิ่มขึ้นในทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านก่อนและหลังการทดลอง คือ 2.95 (ปานกลาง) และ 3.92 (ดี) ตามลำดับ และผู้ปกครองมีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาวะเด็กเพิ่มขึ้นในทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยรวมก่อนและหลังการทดลอง คือ 2.72 (ปานกลาง) และ 3.90 (ดี) ตามลำดับ
- ผลการประเมินสุขภาวะของเด็กก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า เด็กมีสุขภาวะดีขึ้น โดยค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านก่อนและหลังการทดลอง คือ 2.60 (ปานกลาง) และ 3.35 (ปานกลาง) ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณะจิตวิทยา. (2565). เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs). https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/children-with-special-needs
จำลอง ไชยยา และ วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2566).การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบพัฒนาการร่วมกับการชี้แนะทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์แบบสมดุลภาษาสำหรับครูผู้สอนเด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(3), 94-105.
ณฐิณี เจียรกุล. (2563). การพัฒนากระบวนการให้การศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาวะทางอารมณ์แก่เด็กวัยอนุบาลโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะด้วยจิตวิทยาเชิงบวก.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศพร พรหมประเสริฐ, จินตนา ยูนิพันธุ์ และ สุภาวดี ชุ่มจิตต์. (2565). การบำบัดด้วยการเล่นและบูรณาการประสาทรับความรู้สึกต่อปัญหาพฤติกรรมของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนที่มีอาการรุนแรง. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, 9(2), 97 – 110.
ทิชากรช์ อาทิตวรากูล และ อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2562). กาประยุกต์ใช้การวิจัยอิงการออกแบบเพื่อพัฒนากระบวนการชี้แนะทางปัญญาร่วมกับกลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อเสริมสมรรถนะการวิจัยของอาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่าย มัธยม). e-jodil, 9(2), 111-122.
ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 26). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2566). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
โรงพยาบาลมีสุข. (2564). การเล่นบำบัดคืออะไร. https://happyhospital.org
วุฒิชัย ใจนะภา, ณัฐพล มีแก้ว และ สมพร หวานเสร็จ. (2023). ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนในการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลางกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(3), 153-166.
Berasategi Sancho, N., Idoiaga Mondragon, N., Dosil Santamaria, M., & Picaza Gorrotxategi, M. (2022). The well-being of children with special needs during the COVID-19 lockdown: academic, emotional, social and physical aspects. European Journal of Special Needs Education, 37(5), 776-789.
Chauhan, Nidhi., Sachdeva, Diksha., Malhotra, Savita., & Gupta, Nitin. (2024). Play Therapy: An Analytical Mode of Therapy in Children. Journal of Indian Association for Child and Adolescent Mental Health, https://doi: 10.1177/09731342241238524
Egbe, C. I., Ugwuanyi, L. T., Ede, M. O., Agbigwe, I. B., Onuorah, A. R., Okon, O. E., & Ugwu, J. C. (2023). Cognitive behavioural play therapy for social anxiety disorders (SADS) in children with speech impairments. Journal of Rational- Emotive & Cognitive-Behavior Therapy, 41(1), 24-44.
Ferit, Küçükay. (2023). Space to lead: cognitive coaching as mindful school leader practice.. https://doi: 10.18297/etd/3660
Göker-Özdemir, G., & Sertelin-Mercan, Ç. (2023). The Effectiveness of Child-Centered Play Therapy on Behavior Problems of Children. African Educational Research Journal, 11(1), 139-146.
Göker, S. D. (2020). Cognitive coaching: a powerful supervisory tool to increase teacher sense of efficacy and shape teacher identity. Teacher Development, 24(4),559-582.
Göker, S. D., & Göker, M. Ü. (2021). Cognitive Coaching: Developing Teachers of English as Self-directed Learners. The Journal of Asia TEFL,18(3), 875-890. https://doi:10.18823/asiatefl.2021.18.3.8.875..
Habibi, M. M. (2023). The Effectiveness of Social Play Therapy to Improve Social Skills and Abilities of Children with Autism. Journal Ilmiah Potensia, 8(2), 243-251.
Joyce, B., & Calhoun, E. (2024). Models of teaching. Taylor & Francis.
Nehrusingh-Pajerowski, G. (2024). Academic Coaching for Metacognitive Mastery: Skills for Enhancing Self-Awareness and Learning Autonomy. Self-Regulated Learning - Insights and Innovations. https://www.intechopen.com/online-first/1192659#
Nordin, M. N., Huey, L. W., Kaur, H., & Abbas, M. S. (2024). A Review of Studies Related to Parental Involvement in Early Intervention for Children with Special Educational Needs with Visual Impairment. International Journal of Academic Research in Business and Social sciences, 14(3), 110-113.
Pavlock, K. C., & Anderson, D. (2021). Cognitive Coaching: Shifting “Organizations for Learning” Into “Learning Organizations”. In Coaching applications and effectiveness in higher education (pp. 138-161). IGI Global.
Rahyanti, N. M. S., Wulandari, A. A. I., Sriasih, N. K., & Pranata, G. K. A. W. (2024). Kualitas Hidup Caregiver dalam Merawat Anak dengan Kebutuhan Khusus. Malahayati Nursing Journal, 6(4), 1597-1610.
Wade, C. E. (2024). The impact of cognitive coaching on educator identity and teamwork through classroom observation as perceived by teachers and administrators. Electronic Theses and Dissertations. University of Louisville.