สมรรถนะและคุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ของข้อมูลในงบการเงินของกลุ่มธุรกิจการผลิตขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของข้อมูลในงบการเงินของกลุ่มธุรกิจการผลิตขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาคุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชี ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของข้อมูลในงบการเงินของกลุ่มธุรกิจการผลิตขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักบัญชีที่ปฏิบัติงานกลุ่มธุรกิจการผลิตขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 311 คน ที่มาจากการคำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ โดยใช้สูตร Yamane (1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ที่มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบพหุคูณ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมประสิทธิภาพของข้อมูลงบการเงิน ที่ได้จากการใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายปัจจัย เช่น ความรู้ความสามารถของนักบัญชี หรือความพร้อมของบริษัทที่สนับสนุนให้การดำเนินการของระบบสารสนเทศทางการบัญชีอย่างมีระบบแบบแผน รวมถึงการกำหนดนโยบายต่างที่ชัดเจน ไม่ซับซ้อน หรือมีข้อจำกัดในการทำงานมากจนเกินไป รวมไปถึงระบบสารสนเทศการบัญชีควรมีความเสถียร และมีความปลอดภัยขั้นสูงเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลบริษัทที่เป็นสำคัญต่อการดำเนินกิจการ และการนำระบบสารสนเทศการบัญชีมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2566, 10 ตุลาคม). การจำแนกประเภทของข้อมูลธุรกิจตามขนาด. https://datawarehouse.dbd.go.th
ชัยสรรค์ รังคะภูติ, วัชธนพงศ์ ยอดราช และ เจษฎา ใหม่ตาจักร. (2559, 13 สิงหาคม). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของระบบสารสนเทศการบัญชีกับผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.[เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่1: เรื่อง การวิจัยรับใช้ชุมชน สร้างสังคมฐานความรู้, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย.
ณัชริกาญจน์ เธียรวรนันท์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ธิดา เณรยอด. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์บนระบบคลาวด์คอมพิวติ้งกับสำนักงานบัญชีคุณภาพ. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิตยา ใจดี. (2561). คุณภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นิตยา วงศ์ภินันท์วัฒนา. (2561). ความมั่นคงปลอดภัยและการควบคุมระบบสารสนเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรีย์ธนิสร์ ประจักรจิตร. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วิภาดา บุญประกอบ. (2563). รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนและพัฒนาองค์กร (ERP) งานเงินทดรองราชการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กองคลัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศรีสุดา อินทมาศ. (2562). ประสิทธิภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชีในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีต่อคุณภาพรายงานการเงินอย่างยั่งยืน. กองวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2566, 18 ธันวาคม). มาตรฐานการบัญชีสำหรับการรายงานทางการเงิน. https://acpro-std.tfac.or.th
สุวิมล ตรีคงธรรมกุล. (2561). ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริหารสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Almashaqba. & Al,jedaiah. (2010). User’s Factor Affecting an Enterprise Resource Planning System (ERP) Implementation success in Jordan, A Study in Alhassan Industrial city. Journal of Contemporary Research in Business July 2010., 2(3), 133-167.
Sykes, Tracy Ann. (2015). Support Structures and Their Impacts on Employee Outcomes: A Longitudinal Field Study of an Enterprise System Implementation, MIS Quarterly, 39(2), 473-495.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper and Row Publication.
V. Venkatesh, M. Morris and G. B. Davis. (2003) User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS Quarterly, 27(3), 425-478.