องค์ประกอบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ดนุพล แสงสว่าง
นิยดา เปี่ยมพืชนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 296 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจโดยการหมุนแกนด้วยวิธีแวริแมกซ์


ผลการวิจัยพบว่า การตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อนการวิเคราะห์องค์ประกอบค่าดัชนีไคเซอร์-เมเยอร์-ออลคิน มีค่าเท่ากับ 0.941 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.50 แสดงให้เห็นว่าข้อมูลทั้งหมด และตัวแปรต่าง ๆ นั้นมีความสัมพันธ์กันดีมาก และจากค่าสถิติของบาร์ทเลทท์ พบว่า ค่าสถิติไค-สแควร์ ที่ใช้ในการทดสอบมีค่าเท่ากับ 24439.947 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่าเมตริกซ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันเมื่อสกัดองค์ประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ ซึ่งผู้วิจัยทำการหมุนแกนองค์ประกอบและพบว่า ได้องค์ประกอบทั้งหมด 4 องค์ประกอบ มีค่าไอเกนอยู่ระหว่าง 5.593 – 15.948 อธิบายความแปรปรวนได้รวมกันร้อยละ 11.899 - 33.932 และอธิบายความแปรปรวนสะสมร้อยละ 77.449 เรียงตามน้ำหนักค่าองค์ประกอบดังนี้ 1) การปฏิบัติหน้าที่พลเมืองดิจิทัลอย่างมืออาชีพค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.616 – 0.917 2) การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบโลกยุคดิจิทัลค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.687 – 0.831 3) การรู้ดิจิทัลค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.870 – 0.934  4) การมีวิสัยทัศน์ยุคดิจิทัลค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.701 – 0.829

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงศ์ สมชอบ, วัลภา อารีรัตน์, ปาริชาต ทุมนันท์ และ วรเทพ ฉิมทิม. (2563). การศึกษาองค์ประกอบของการเรียนรู้ดิจิทัลสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21, ขอนแก่น, ประเทศไทย.

เกียรติศักดิ์ ลำพองชาติ. (2563). ทักษะการทำงานในโลกยุคดิจิทัล. กลุ่มงานติดตามและประมวลผลงานของวุฒิสภา สำนักวิชาการ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

จักรกฤษณ์ สิริริน. (2561, 18 มีนาคม). ภาวะผู้นำตัวใหม่: ภาวะผู้นำ ICT. [เฟสบุ๊ค]. https://www.facebook.com/EdInnoNews/photos/a.1619741468114896/1642173602538349/?type=3

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. ศิริธรรมออฟเซ็ท.

จิตรกร จันทร์สุข และ จีรนันท วัชรกุล. (2564). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิราภรณ์ ปกรณ์. (2564). รูปแบบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัยธวัช เนียมศิริ. (2561). ภาวะผู้นำกับการบริหารในยุคไทยแลนด์ 4.0 กรณีศึกษา : จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร]. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ชุติรัตน์ กาญจนธงชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล (พิมพ์ครั้งที่2). มหาวิทยาลัยของแก่น.

ไทเกอร์. (2563, 1 กันยายน). ภาวะผู้นำในยุคดิจิตอลคืออะไร (Digital Leadership). ไทเกอร์วินเนอร์. https://thaiwinner.com/digital-leadership/

ธิดารัตน์ ธิศาลา. (2562). ภาวะผู้นำแบบดิจิทัลของสถานศึกษามัธยมศึกษา ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปกรณ์ ลี้สกุล. (2561). Leadership in digital era: ภาวะผู้นำในโลกดิจิทัล. [ไลน์]. today.line.me/th/pc/article/Leadership+in+Digital+Era

ปัณณ์ พัฒนศิริ. (2564, 19 กรกฎาคม). COVID-19 Education Disruption: นัยต่อสังคมและเศรษฐกิจเมื่อโลกเปลี่ยนไปเรียนออนไลน์. เอสซีบีอีไอซี. https://www.scbeic.com/th/detail/product/7695

มลิวัลย์ ธรรมแสง. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา เฉพาะความพิการ. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 11(2), 7-16.

มูฮำหมัดรุซลัน ลือบากะลูติงและนิรันดร์ จุลทรัพย์. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น. (2565, 22 เมษายน). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR). การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา. ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น. ไดร์ฟกูเกิ้ล. https://drive.google.com/file/d/1pn_1kzWGzWXpNMkRwwzgBdwiNYHUGQzr/view?usp=sharing

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565, 15 พฤศจิกายน). เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค พ.ศ. 2566-2570. เนสดีซี. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=13225

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(4), 216-224.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกรัตน์ เชื้อวังคำ และ วัลลภา อารีรัตน์. (2564, 25 มีนาคม). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. การประชุมผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22, ขอนแก่น, ประเทศไทย.

American Institute for Research. (2009). Evaluation of the school technology leadershipinitiative:external evaluation report. American Institutes of Research.

Hague, C. & Payton, S. (2010). Digital literacy across the curriculum. Future lab.International Society for Technology in Education ISTE. (2009). National educational technology standards for administrators. https://cdn.iste.org/www- root/Libraries/Images/Standards/Download/ISTE%20Standards%20for%20Administrators%2C % 202009%20(Permitted%20Educational%20Use).pdf

Rahimi Yusof, M., Mohd Faiz, M. M., & Mohd Yaakob, M. F. (2019). Digital Leadership Among School Leaders in Malaysia.International Journal of Innovative Technology and Exploring Engineering , 8(10), 123-129. https://doi.org/10.35940/ijitee.J1001.08810S19

Tran. (2017). Digital Transformational: The 5 Must Have Skills for Digital Leaders. Inlook. http://www.inloox.com/company/Blog/articles/digital-transformation-the-5-must-have- skills-for-digital-leaders/

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Harper International Edition.