ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนา การนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 341 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และเมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.984 และ 0.944 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNImodified) ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยด้านการประเมินผลและรายงานการนิเทศมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็นด้านการวิเคราะห์สภาพปัญหา ส่วนด้านการปฏิบัติการนิเทศ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการประเมินผลและรายงานการนิเทศ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาเป็นด้านการวิเคราะห์สภาพปัญหา และด้านการปฏิบัติการนิเทศ ส่วนด้านการวางแผนการนิเทศ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมี PNImodified = 0.757 เรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ ลำดับที่ 1 คือ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ ลำดับที่ 2 คือ ด้านการวางแผนการนิเทศ ลำดับที่ 3 คือ ด้านการวิเคราะห์สภาพปัญหา และลำดับที่ 4 คือ ด้านการประเมินผลและรายงานการนิเทศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). นวัตกรรมการศึกษา ชุด คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. ธารอักษร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จริยา ศรีชนะ. (2563). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ญาณี ญาณะโส. (2562). การศึกษาบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
นันทิยา ทองหล่อ. (2565). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในตามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายในของโรงเรียนโคกลำพานวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1. วารสารวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2(2), 64-83.
ประนม มะธิปิไข. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. [งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประภารัตน์ พนานุสรณ์. (2557). บทบาทของผู้บริหารในการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ปิยนุช กาญจนะกันโห. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พุทธชาด แสนอุบล. (2561). สภาพ ปัญหา และแนวทางการปรับปรุงการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(70), 171-181.
รัตนา ดวงแก้ว. (2554). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการนิเทศการเรียนการสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช (พิมพ์ครั้งที่ 12). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.
วันวิสาข์ สิงห์อุ่น. (2560). แนวทางการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สันติ อุดคำ. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. (2562). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2562. พิษณุโลก: กลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุภาภรณ์ กิตติรัชดานนท์. (2551). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.