แนวทางการจัดเก็บค่าธรรมเนียมโรงแรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ชุติมา จิตต์นอก

บทคัดย่อ

  • บทความการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด จากผู้พักในโรงแรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี (อบจ.อุดรธานี) ที่เก็บได้ ตามความเป็นจริง 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียม บำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักในโรงแรมของ อบจ.อุดรธานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ออกแบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้างเจาะลึก (In-depth interview) แบบกรณีศึกษาทางเดียว (Single Case Study) จากผู้พัก       ในโรงแรมของ อบจ.อุดรธานี และสัมภาษณ์บุคลากรของ อบจ.อุดรธานี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ของ อบจ.อุดรธานี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ด้านการจัดเก็บรายได้ใน อบจ.อุดรธานี และ 2) กลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมในเขตพื้นที่อบจ.อุดรธานี ได้แก่ เจ้าของกิจการโรงแรม ผู้จัดการโรงแรม

  • ผลการศึกษาพบว่า
    1. กระบวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด จากผู้พักในโรงแรม ของ อบจ.อุดรธานี ที่เก็บได้ตามความเป็นจริง พบว่า อบจ.อุดรธานีมีพื้นที่ขนาดใหญ่ การสำรวจข้อมูลโรงแรมไม่ครอบคลุมส่งผลให้ไม่สามารถได้ข้อมูลค่าเช่าห้องพักรายวัน จำนวนวันและจำนวนห้องพักที่มีผู้เข้าพักจริงและผู้ประกอบกิจการโรงแรมเป็นผู้มีหน้าที่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมฯ ไว้แทน อบจ.อุดรธานี การประเมินค่าธรรมเนียมฯ จึงขึ้นอยู่กับความเต็มใจจ่ายของผู้ประกอบกิจการโรงแรม ในทุก ๆ เดือน ผู้ประกอบกิจการโรงแรมต้องเดินทางมายัง อบจ.อุดรธานีเพื่อชำระค่าธรรมเนียมฯ เกิดต้นทุนในการเดินทาง หรืออาจรอให้เจ้าหน้าที่ออกพื้นที่ไปจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว ซึ่งไม่สะดวกในการชำระเงิน การติดต่อสอบถามและประชาสัมพันธ์ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้และพบว่า ผู้ประกอบการบางรายไม่ทราบว่าต้องชำระค่าธรรมเนียมฯ ก่อนวันที่ 10 ของทุกเดือน

    2. แนวทางการพัฒนากระบวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด จากผู้พักในโรงแรมของ อบจ.อุดรธานี พบว่า เนื่องจากเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล มีข้อมูลเชิญพื้นที่ที่แม่นยำกว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัด และต้องสื่อสารทำความเข้าใจในค่าธรรมเนียมฯ เพื่อให้ผู้ประกอบการรับรู้ การจ่ายค่าธรรมเนียมฯ จะก่อให้เกิดประโยชน์ใดบ้างต่อกิจการของตนเอง และยินดีที่จะจ่าย ตลอดจนอำนวยความสะดวกโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ อาทิ เพิ่มช่องทางออนไลน์ในการแจ้งการชำระค่าธรรมเนียมฯ อาจใช้แอพพลิเคชัน Line Official เป็นบัญชีของการรับชำระค่าธรรมเนียมฯ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยเฉพาะ เพื่อใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ประกอบกิจการโรงแรมได้โดยตรง และเพิ่มช่องทางการรับชำระโดยการโอนเงินเข้าบัญชี เพื่อชำระค่าธรรมเนียมฯ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงแรม


Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566, 10 กรกฎาคม). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศรายจังหวัด. https://www.mots.go.th/news/category/657.

ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี. (2542). การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักในโรงแรม พ.ศ. 2542.

พัทธมน บุญมี. (2563). แนวทางการพัฒนาการจัดเก็บภาษีการเข้าพักโรงแรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษากรณีสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรี ฟรีสตัด. (2566). การบริหารการจัดการภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมุกดาหาร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(6), 31-42.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2565). นวัตกรรมการพัฒนารายได้ท้องถิ่น : การพัฒนาตัวแบบและบทเรียนสำคัญจากการวิจัยเชิงทดลอง. วารสารปาริชาต, 3(1), 88-106.