องค์ประกอบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ฉัตรดนัย วงษ์คำชัย
ฐิตารีย์ ศิริมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา  คือ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 350 คน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ  และการแจกแจงความถี่ การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจโดยวิธี Principal-Component Analysis และใช้วิธีการหมุนแกนออโธโกนอลแบบวาริแมกซ์ค่า KMO ที่ใช้ในประเมินความเหมาะสมของข้อมูล เท่ากับ 0.924


          ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในด้านของปัจจัยจูงใจ ด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคล อยู่ในระดับมากที่สุดและด้านของปัจจัยค้ำจุน ด้านนโยบายและการบริหารงานขององค์กร อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งหมายความว่า พนักงานให้ความสำคัญกับด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคล และด้านนโยบาย     และการบริหารงานขององค์กรมาเป็นอันดับแรก ในส่วนขององค์ประกอบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพบองค์ประกอบที่สำคัญ 11 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการสื่อสารและความสัมพันธ์ กับผู้บังคับบัญชา องค์ประกอบที่ 2 ด้านนโยบายบริหารงานและการจัดการขององค์กร องค์ประกอบที่ 3 ด้านความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาและการยอมรับนับถือ องค์ประกอบที่ 4 ด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคล องค์ประกอบที่ 5 ด้านความก้าวหน้าในอาชีพและการพัฒนาตนเอง องค์ประกอบที่ 6 ด้านสภาพการทำงานและความมั่นคงของในการทำงาน องค์ประกอบที่ 7 ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน องค์ประกอบที่ 8 ด้านสถานะของอาชีพ องค์ประกอบที่ 9 ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ องค์ประกอบที่ 10 ด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว และองค์ประกอบที่ 11 ด้านสวัสดิการและผลตอบแทนขององค์กร (ร้อยละความแปรปรวน เท่ากับ 11.231 8.465 8.194 7.948 6.483 5.199 4.854 3.615 3.285 3.135 และ 2.405 ตามลำดับ) โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการไฟฟ้าเขตอื่น ๆ   ที่มีบริบทเช่นเดียวกัน สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา และสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานในสังกัดได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบริหารงานบุคคลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2566). สรุปข้อมูลสำคัญ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

กองประชาสัมพันธ์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2564). รวมประวัติความเป็นมา. https://www.pea.co.th/เกี่ยวกับเรา/ประวัติความเป็นมา

นโยบายการบริหารและพัฒนาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2564).

https://www.pea.co.th/Portals/0/policy/Governor%20Policy%202022.pdf?ver= 2022-03-29-115810-360

พีระ จันทร, ปวีณ์ริสา ศิรกุลประเสริฐ, อโณทัย บุญยะบูรณ์, ยงยุทธ ศรีสวัสดิ์ และ ชัญญณัท กริ่มใจ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่กระทุ่มแบนจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง Vocational Education Central Region Journal, 6(2), 57-63.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ. (2557). หลักการจัดการองค์กร. ทริปเพิ้ล เอดูเคชั่น.

สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. วิทยพัฒน์.

สุธี ขวัญเงิน. (2559). หลักการจัดการ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุภาวดี สุทธิรักษ์, สมนึก เลิศแก้ว และ บุณฑริก ใจกระจ่าง. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบของแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์ Journal of Buddhistic Sociolog, 6(1), 1-18.

อัจจิมา เสนานิวาส และ สรัญณี อุเส็นยาง. (2565). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(1), 29-40.

Barnard. (1974). The pathophysiology of spinal vascular malformations. Journal of the neurological sciences, 23(2), 255-263.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work. John Wiley & Sons.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. John Wiley & sons.