อิทธิพลส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อส่วนประสมทางการตลาดของเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) ศึกษาการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 3) ศึกษาอิทธิพลส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ กลุ่ม Generation Z มีอายุระหว่าง 18-27 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่เคยซื้อเสื้อผ่านแอปพลิเคชัน TikTok จำนวน 250 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดของเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีความสำคัญในระดับมาก โดยด้านผลิตภัณฑ์มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว และด้านการให้บริการส่วนบุคคล ตามลำดับ การตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีความสำคัญในระดับมาก โดยด้านการตัดสินใจซื้อ มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประเมินทางเลือก ด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ ด้านการแสวงหาข้อมูล และ ด้านการรับรู้ถึงปัญหา ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์อิทธิพลส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อ ทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว และด้านราคา ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้ง 3 ตัวนี้สามารถร่วมกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Z ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 32.70 29.00 และ 18.70
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทรงพร เทือกสุบรรณ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านแอพพิเคชันช้อปปี้ของผู้บริโภค ในกรุงเทพฯ. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3813
เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพิเคชันออนไลน์ (Lazada) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพฯ. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม]. https://e-research.siam.edu/wp-content/uploads/2019/05/MBA-2018-IS-Factors-influencing-the-decision-to-purchase-the-product-via-online-application-Lazada-consumer-digital-era-in-Bangkok.pdf
วริศรา สู้สกุลสิงห์ และวราวุธ ฤกษ์วรารักษ์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, 12(1), 1-20.
สหพัชร์ ชนะชัยสิทธิ์, อิสยาภรณ์ กิตติอังกูรพร และพัชรกันต์ นิมิตรศดิกุล. (2562, 11-12 กรกฎาคม). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ [เอกสารนำเสนอ]. งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สำนักงานพัฒนาธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565, 23 สิงหาคม). Gen Y กับการใช้อินเทอร์เน็ต. https://www.etda.or.th
สำนักบริหารการทะเบียน. (2566, มกราคม). ประชากรจังหวัด
ขอนแก่น.https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/view
สุดารัตน์ กาหยี. (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์. [สารนิพนธ์ปริญญาบริหารบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18129
หอการค้าจังหวัดขอนแก่น. (2566, มกราคม). จังหวัดขอนแก่น. https://www.kkcc.or.th/khonkaen
อรนรี ปิ่นวันนา และสุวรรณา เตชะธีระปรีดา. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ และการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, 5(2), 6-19.
อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อฟ้าแฟชั่นผ่านสังคมออนไลน์ (Facebook) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปรญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่]. https://graduate.cmru.ac.th/core/km_file/494.pdf
อัคริยา รณศิริ, พุฒิธร จิรายุสและอรชร อิงคานุวัฒน์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดออนไลน์ (6Ps) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับเงินของผู้บริโภค บนช่องทางเฟซบุ๊ค ในกรุงเทพฯ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 19(2), 1-12.
Amarin TV. (2566, 12 กรกฎาคม). สำรวจตลาด E-Commerce ในไทยโตแรง อีก 2 ปีมูลค่าตลาดเฉียด 7 แสนล้านบาท. https://www.amarintv.com/spotlight/business-marketing/detail/48706
Kong, Deping . (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เสริมมือถือจากการประเทศจีนผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(2), 1-17.
Siddiqui, K. (2013). Heuristics for Sample Size Determination in Multivariate Statistical Techniques. Worid Applied Sciences Journal, 27(2), 285-287. https://www.idosi.org/wasj 27(2)13/20.pdf
Spring News. (2566, 14 กุมภาพันธ์). เทรนด์การใช้โซเชียลมีเดียและแอพพิเคชันในไทย. https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/835384
True ID. (2566, 3 มกราคม). สินค้าขายดีในแอพพิเคชัน TikTok. https://news.trueid.net /detail/oR2EDYElbEpn
Wikipedia. (2566, 23 ธันวาคม). จังหวัดขอนแก่น. https://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดขอนแก่น
Workpoint Today. (2565, 23 มิถุนายน). คนไทยครองแชมป์การซื้อของผ่านโซเซียลมีเดียมากที่สุด. https://workpointtoday.com/thai-social-commerce