การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

วาสนา บุญเลี้ยง
นวพล นนทภา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในการสอน เรื่อง สถิติ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อศึกษาระดับการคิดเชิงคณิตศาสตร์ หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในการสอน เรื่อง สถิติ ในด้านทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการให้เหตุผล และทักษะการนำเสนอตัวแทนความคิด (3) เพื่อศึกษาระดับการคิดเชิงคณิตศาสตร์ หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในการสอน เรื่อง สถิติ เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 (4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ที่ส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวนนักเรียน 27 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก แบบทดสอบการคิดเชิงคณิตศาสตร์ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที กรณีกลุ่มเดียว การวิเคราะห์งานเขียน และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก75.61/79.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ (2) ระดับการคิดเชิงคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 70.22 (equation= 16.85, S.D.= 5.25) (3) ระดับการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 สูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า ครูควรเน้นการให้สถานการณ์ ปัญหาที่น่าสนใจให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ และเน้นให้เข้าใจหลักการให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้เพื่ออธิบายและสรุปคำตอบด้วยตนเอง ดังนั้น ครูควรเน้นทักษะให้เหตุผล และทักษะนำเสนอตัวแทนความคิดของนักเรียน ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียน

Article Details

How to Cite
บุญเลี้ยง ว., & นนทภา น. . (2025). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 15(1), 242–257. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/272934
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่องส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงและจิตตนิสัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository: SURE. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/11639.

ชลธาร ผ่องแผ้ว. (2565). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับ เทคนิค Think Talk Write ที่มีต่อมโนทัศน์และทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(2), 70-80.

ปัทมา อนันต์. (2561). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้การวิจัยอิงการออกแบบ [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ]. ฐานข้อมูลงานวิจัยทางการศึกษา (ThaiEdResearch).

วนิดา เขตประทุม. (2563). การศึกษาการคิดทางคณิศาสตร์ของนักเรียนขั้นมัยยมศึกษาปีที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วาสนา ประภาษี. (2560). การศึกษาการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแนวคิดของสะเต็มศึกษา. วารสารบทความการประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ AMM 2017 Book of Abstracts, 22(1), 2-4.

วุฒิชัย ภูดี. (2563). การสอนคณิตศาสตร์ในยุคดิจิทัล: วิธีการและเครื่องมือ. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 3(2), 190-199.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). ทักษะ/กระบวนการคณิตศาสตร์. ครุสภาลาดพร้าว.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียน.......เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1-13.

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยี ภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. http://bsris.swu.ac.th/thesis/55199120027RB8992555f.pdf.

อัญญาณี สุมน. (2561). วิถีแห่งการคิดทางคณิตศาสตร์โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับการศึกษาไทย 4.0. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 18(4), 5-17.

Dema, K., & Tshering. (2020). The effects of active learning approach in teaching and learning science: A case of one of the primary schools in Bhutan. International Research Journal for Quality in Education, 7(1), 1–6.

Evendi, E. (2022). Mathematical Thinking Styles and Its Implications in Science Learning: A Bibliometric Analysis. Jurnal Penelitian Pendidikan IPA, 8(3), 1503–1511.

Huincahue, J. (2021). Mathematical Thinking Styles—The Advantage of Analytic Thinkers When Learning Mathematics. Educ. Sci. 2021, 11, 289.

Kriegler, S. (2004). Just What is Algebraic Thinking. http://www.math.ucla.edu/~kriegler.

Tohir, M. (2020). Prospective teachers' expectations of students' mathematical thinking processes in solving problems. European Journal of Educational Research, 9(4), 1735-1748.

Lopez-Caudana, Edgar. (2020). Using Robotics to Enhance Active Learning in Mathematics: A Multi-Scenario Study. Mathematics 2020, 8, 2163