อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ปริญญา ปานาเต
ฐิตารีย์ ศิริมงคล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคในจังหวัดมหาสารคาม 2) ระดับความสุขในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดมหาสารคามและ 3) อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดมหาสารคาม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อการสอบถามแรงจูงใจในการทำงานและความสุขในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มประชากรของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดมหาสารคามทั้งหมดจำนวน 191 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 18-30 ปี สถานภาพ สมรส ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ระดับตำแหน่ง 5-7 มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 20,000-35,000 บาท และมีเวลาในการทำงาน 6-10 ปีและ 20 ปีขึ้นไป พบว่าปัจจัย  จูงใจในการทำงานด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ด้านนโยบายและการบริหารงาน และด้านการบริหารจัดการ การบังคับบัญชา ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรปัจจัยจูงใจในการทำงานสามารถร่วมกันทำนายความสุขในการทำงานของพนักงานได้ร้อยละ 54.8 (Adjusted R2  = 0.548) และตัวแปรปัจจัยค้ำจุนในการทำงานสามารถร่วมกันทำนายความสุขในการทำงานของพนักงานได้ร้อยละ 71.3 (Adjusted R2  = 0.713)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบริหารงานบุคคล การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2566, 10 สิงหาคม). สรุปข้อมูลจำนวนพนักงาน. https://datastudio.google.com/u/0/reporting/109208df-db3b-428d-a65f-6355d497726e/page/XoedB

ชนากานต์ นาพิมพ์. (2561). คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฐชัย วงศ์ศุภลักษณ์. (2564). อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันในองค์กรที่มีต่อความสุขของผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะ. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 18(2), 180-200.

ณัฐฐินันท์ ศรีนุกูล, (2565). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(5), 253-272.

นาตยา โชติกุล และ ณัฐธิดา บุญเรือง. (2560). แรงจูงใจในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและความสุขในการทำงาน กรณีศึกษา พนักงานเทศบาลเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 8 (น. 214-224). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พรเพชร บุตรดี. (2563). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

มนชนก ชูพรรคเจริญ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพนักงาน เอกชนในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัด สมุทรปราการ. คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมเชิงนวัตกรรม. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

ศิรินภา ภูชาดา. (2566). แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(2), 74-96.

สุรินทร์ นิยมางกูร, พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, วัชรินทร์ ชาญศิลป์ และพิเชฐ ทั่งโต. (2564). อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานการเห็นคุณค่าในตนเองและหลักอิทธิบาทธรรมที่มีต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 114-125.

Herzberg, Frederick., Mausner, Bernard and Snyderman, Barbara B. (1959). The Motivation to Work. John Wiley.

Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-655.