ปัจจัยส่วนประสมการตลาดเพื่อการส่งเสริมของนักท่องเที่ยว ในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การท่องเที่ยวถือเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการ/ประกอบธุรกิจส่วนตัว มีสถานภาพสมรสแล้ว และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-20,000 บาท ด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติพบว่า ส่วนใหญ่พาครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อนมาเที่ยว และเดินทางมาเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมที่อุทยานจัดขึ้น โดยมักเดินทางมาในช่วงวันหยุดหรือวันสำคัญทางศาสนา ข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ คือ ข้อมูลจากเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ และส่วนใหญ่ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่นักท่องเที่ยวเห็นด้วยสูงที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการให้บริการ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางในการนำหลักการส่วนประสมการตลาดมาใช้ในการจัดการนักท่องเที่ยว คือ อุทยานแห่งชาติดอยภูคาควรจัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาชีพธุรกิจส่วนตัวซึ่งมีกำลังซื้อสูงและใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ประกอบการตัดสินใจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กชกร จุลศิลป์. (2561). กลยุทธ์การจัดการการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2566, 24 มกราคม). จำนวนนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. https://catalog.dnp.go.th/dataset/stat-tourism/resource/70ae333d-19fc-4cdb-a60c-dc43bbf74ad6
กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และบริษัทอินทัช รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลแทนซี จำกัด. (2566, 26 ตุลาคม). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย ปี 2564. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/T27095.pdf.
กาญจนา จันทรชิต, พิมพ์พาภรณ์ สุทธหลวง, ธัญลักษณ์ โกษาเสวียง และ ศุภชัย ธรรมสุปรีดิ. (2565, 2 กุมภาพันธ์). การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวแล้วหรือยัง?. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. http://www.fpojournal.com/thai-tourism-situation/
ชนิสรา กุลสันติวงศ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย Generation Y หลังโรคระบาดโควิด-19. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชัยพร ศุภนิมิตวิเศษกุล และ ชวลีย์ ณ ถลาง. (2565). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดการท่องเที่ยวภายใต้วิกฤตโควิด 19. วารสารร่มพฤกษ์, 40(2). 70-88.
ณัฐชยา ธรรมสิทธิรักษ์. (2562). กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจไปท่องเที่ยวในประเทศ กรณีศึกษากลุ่มประชากรวัยทำงาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ณัฐพร บรมคุณากร. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจังหวัดนครนายก สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยว เจเนอเรชั่นวาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครนิทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
ผู้จัดการออนไลน์. (2557, 12 มกราคม). “12 เมืองต้องห้าม...พลาด”-พลาดไม่ได้กับ 12 เมืองน่าเที่ยว. ผู้จัดการออนไลน์. https://mgronline.com/travel/detail/9570000125455
ภูริ ชุณห์ขจร และชวลีย์ ณ ถลาง. (2564). องค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงอาหารและส่วนประสมทางการตลาดบริการของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงอาหารชายฝั่งทะเลตะวันตก. วารสารวิทยาลัยดุสติธานี, 15(1), 66-82.
มุกดา อุ่นกาย. (2564). การสร้างมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการชุมชนสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองปากปิด ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สำนักงานจังหวัดน่าน. (2564, 6 มกราคม). อุทยานแห่งชาติดอยภูคา (Doi Phu Kha). สำนักอุทยานแห่งชาติ https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=937.
สุธาสินี วิยาภรณ์, กิ่งดาว อาจคงหาญ และพศวรรตร์ วริพันธ์. (2564). แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษา: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8 วันที่ 27 มีนาคม 2564. หน้า 581-588.