การลดความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าในกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุถัง กรณีศึกษา โรงงานผลิตน้ำดื่มแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นมาจากความล่าช้า ภายในกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุถังเป็นการป้องกันการสูญเสีย และลดปัญหาความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้า การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความสูญเปล่านี้ และนำเสนอแนวทางที่จะช่วยลดความสูญเปล่าดังกล่าวที่เกิดจากความล่าช้าในโรงงานผลิตน้ำดื่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากการสังเกต แบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 20 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนภาพกระบวนการไหล และกิจกรรมการผลิตเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความสูญเปล่า และเสนอแนวทางลดความสูญเปล่า ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดความสูญเปล่า เกิดขึ้นในกิจกรรมขนย้ายถังไปยังห้องบรรจุน้ำถัง กิจกรรมการบรรจุน้ำถัง และกิจกรรมเคลื่อนย้ายน้ำถังไปคลังสินค้า สามารถนำกิจกรรม มาปรับปรุงเพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าในกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุถัง ด้วยทฤษฎี ECRS โดยเสนอแนวทาง 3 แนวทาง ได้แก่ การอบรมเพิ่มทักษะการทำงาน การเพิ่มกำลังการผลิต และการเพิ่มอุปกรณ์ทุ่นแรง หลังจากได้เสนอแนวทางเพื่อลดความสูญเปล่าที่ได้เกิดจากความล่าช้า ในกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุถัง จำนวนครั้งที่ล่าช้า ลดลง 8 ครั้ง คิดเป็นลดลงร้อยละ 47.36 ในขณะที่เวลาที่ใช้ในกระบวนการผลิตลดลง 99.19 นาที คิดเป็นร้อยละ 32.04 และทำให้ลดต้นทุนค่าเสียโอกาสจาก 26,000 บาทต่อเดือน ส่งผลให้ได้กำไรจากกระบวนการผลิตที่เร็วขึ้น 1,200 บาทต่อเดือน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลชนก สติคาม, ไพลิน กิจจา, และ อภิญญา พงษ์สะเดา. (2559). การเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตน้ำมังคุด กรณีศึกษาบริษัทสยาม โปรฟรุ๊ตส์ จำกัด จ.จันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
คลอเคลีย วจนะวิชากร. (2562). การลดความสูญเปล่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตไม้กวาดทางมะพร้าวกรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนบ้านบุ่งหวาย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์, 13(1), 141.
ชนเนษฏ์ ศรีละออ, กรองแก้ว ลำภูเงิน, จริดา คลาดโรค, กฤติธี มุกดาสนิท, จารุวรรณ จีระออน และ จีระศักดิ์ จันทร์หอม. (2563). การศึกษาเพื่อปรับปรุง ความปลอดภัยในกระบวนการผลิตด้วยการ ฝึกอบรม โดยใช้หลักการ Why–Why Analysis และหลักการ ECRS กรณีศึกษา บริษัท ยาคูลท์ (ประเทศไทย) จํากัด. วารสารการบริหารและจัดการ, 1(10), 14-23.
โชติรส นพพลกรัง และ พรฑิตา ถามะพันธ์. (2565). การลดระยะเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด: กรณีศึกษา โรงงานสหกรณ์การเกษตรยางชุมน้อย จำกัด อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2(2), 32-42.
ภาณุวัฒน์ วงค์แสงน้อย และ นลิน เพียรทอง. (2566). การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตยางพาราแผ่นเรียบ ด้วยเทคนิคลีน. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 16(2), 168-175.
วรุทัย เดชตานนท และ จิรวัฒน โลพันดุง. (2564). การเพิ่มผลผลิตในขั้นตอนการบรรจุน้ำดื่ม กรณีศึกษา โรงผลิตน้ำดื่มทับแกว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 14(2), 62 - 74.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2566). ตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดในประเทศไทย ปี 2566. https://fic.nfi.or.th.
สุวรรณา พลภักดี. (2564). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด. วิศวสารลาดกระบัง, 38(3), 77-90.
อัจฉรา ผ่องพิทยา. (2560). การปรับปรุงกระบวนการผลิตผ้าดิบโดยใช้หลักการ ECRS กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 8(2), 40-49.
Ohno, T. (2019). Toyota production system: beyond large-scale production. Productivity press.