ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับการตัดสินใจซื้อ รถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคล ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

วงศ์ปกรณ์ ศิริภัทรสุนทร
สุวรรณา เตชะธีระปรีดา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของรถยนต์ไฟฟ้าประเภท ส่วนบุคคล ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคล ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคล ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมาที่ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง จดทะเบียนที่สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของรถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคล ประกอบด้วย 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2) ด้านราคา 3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด  5) ด้านบุคลากร 6) ด้านกระบวนการ และ 7) ด้านลักษณะทางกายภาพ ตัวแปรตามคือ การตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคล ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย1) การรับรู้ถึงปัญหา   2) การแสวงหาข้อมูล 3) การประเมินทางเลือก 4) การตัดสินใจซื้อ และ 5) พฤติกรรมภายหลังการซื้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดรถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา ด้านที่มีระดับความสำคัญสูงสุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ 2) การตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา ด้านที่มีระดับการตัดสินใจสูงสุด  คือ ด้านการประเมินทางเลือก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับ การตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กับการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคใน               จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง โดยด้านที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการขนส่งทางบก. (2565, 17 ตุลาคม). การใช้รถยนต์ในประเทศไทย มีจำนวนรถจดทะเบียนสะสม ในปี 2565. https://web.dlt.go.th/statistics/

กระทรวงพลังงาน. (2565, 27 สิงหาคม). สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย. http://www.eppo.go.th/index.php/th/

กระทรวงพลังงาน. (2565, 1 สิงหาคม). การดำเนินงานส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า. http://www.eppo.go.th/index.php/th/conservation/ev-content

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2561, 23 พฤษภาคม). เทคโนโลยียานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า. https://www.industry.go.th/th/km/6573

กัญจน์นิกข์ กำเนิดเพ็ชร์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(3), 82-109.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดนัยกฤต อินทุฤทธิ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ BEV. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ.

มนัสนันท์ รักษายศสกุล. (2560). ผลกระทบของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ออนไลน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรลักษณ์ พงษ์พูล. (2562, 17 ตุลาคม). กระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของคนทำงานในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS /sat17/6214060135

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และ คณะ. (2562). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยมุ่งที่ตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 1). เพชรรัตน์แสงแห่งโลกธุรกิจ.

อติชาติ โรจนกร และ กฤช จรินโท. (2561). การรับรู้การสื่อสารทางการตลาดอิทธิพลพฤติกรรมต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฮบริดของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(3), 1-12.

International Energy Agency. (2022 August 27). Energy and Climate Change. www.worldenergyoutlook.org/energyclimate

Kotler, P. (2012). Marketing Management (13th ed). Pearson.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). Harper & Row.