การพัฒนาชุดการสอนการอ่านอังกฤษเชิงวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ PTGAR เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนการอ่านอังกฤษเชิงวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษอ่านเขียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ด้วยชุดการสอนการอ่านอังกฤษเชิงวิเคราะห์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ (Reading for Gist or Information) 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 315 คน กลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียน จากห้อง ม. 6/7 จำนวน 30 คน โดยสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน จำนวน 60 ชั่วโมง ระยะเวลาดำเนินการ 1 ภาคเรียน สื่อที่ใช้ คือ ชุดการสอนการอ่านอังกฤษเชิงวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าที t-test (Dependent) และค่าประสิทธิภาพเกณฑ์ 80/80
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดการสอนทั้งประสิทธิภาพของกระบวนการที่จัดไว้ในชุดการสอนและประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอน มีประสิทธิภาพ E1/E2 คือ 80.05/83.66 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 2) ความก้าวหน้าทางการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษอ่านเขียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยเท่ากับ 7.3 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 36.5 อยู่ในระดับต่ำ 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับดีมากต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลวรรณ คารมปราชญ์. (2565). การเรียนการสอนที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน: แนวปฏิบัติในวิชาภาษาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กิตติมา สิงห์สนธิ์ และนิธิดา อดิภัทรนันท์. (2561). การสอนคำศัพท์ที่ปรากฏร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(6), 200-218.
ขนิษฐา มาทุ่ง. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนขุนไกรพิทยาคมโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ.รายงานวิจัย. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38.
จันทรพิมพ์ รังสี. (2566). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ6R กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชนาธิป พรกุล. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการคิดวิเคราะห์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชนาธิป พรกุล. (2564). การสอนกระบวนการคิด: ทฤษฎีและการนำไปใช้. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://kpruinnovation.kpru.ac.th/inno2024/download/Presentationbook.pdf
ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 25). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2566). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 10). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธชวรรณ กวยระคาร และธรรศนันต์ อุนนะนันทน์. (2566). การใช้ชุดกิจกรรมแบบกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
นภัสสร สุทธานนท์. (2564). การวิจัยประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ในหัวข้อ"การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning)" สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นภาภรณ์ จินตนา. (2565). การพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้การออกแบบย้อนกลับ. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยบูรพา.
นักรบ บุญนุภา. (2566). การอ่านจับใจความสำคัญ: พื้นฐานการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้ตลอดชีวิต. สำนักพิมพ์การศึกษา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2565). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย (ฉบับปรับปรุงใหม่). สุวีริยาสาส์น.
พิมพ์ชนก ศิริทรัพย์. (2565). การพัฒนาชุดสื่อการสอนแบบปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมต้นในหัวข้อภาษาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2564). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2565) สมรรถนะการนิเทศเชิงรุก : ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2564). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สมชาย รัตนทองคำ. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2564). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง (พิมพ์ครั้งที่ 4).เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
สรณบดินทร์ ประสารทรัพย์. (2561) ผลของการใช้วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอกช์ (MIA) ที่มีต่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 175-186.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2560) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง 2560). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2551 และการปฏิรูปการศึกษาตามหมวด 4. กระทรวงศึกษาธิการ.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2564). แนวคิดการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: การประยุกต์ใช้ในห้องเรียนภาษาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2563). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรวรรณ วัฒนธรรม. (2566). การพัฒนาสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Beck, I. L., & McKeown, M. G. (2022). Improving reading comprehension: Theoretical models and practical strategies. Educational Psychology Review, 34(2), 245-267.
Cohen, E. G., & Lotan, R. A. (2023). Designing groupwork: Strategies for heterogeneous classrooms (3rd ed.). Teachers College Press.
Pearson, D. P., & Roberts, K. L. (2021). Advanced reading comprehension techniques: A cognitive approach. Cambridge University Press.
Thompson, S. M. (2023). Critical reading strategies in higher education. Harvard Educational Press.