ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการจัดการการเงินส่วนบุคคลของบุคลากร ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 2) การจัดการการเงินส่วนบุคคลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และ 3) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการจัดการการเงินส่วนบุคคล ของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และลูกจ้างประจำ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำนวน 1,469 คน กำหนดขนาดตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน จำนวน 306 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบตามความสะดวก โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (= 3.78) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อ ค่าใช้จ่าย อัตราผลตอบแทน และรายได้ 2) การจัดการการเงินส่วนบุคคลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (
= 3.86) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การวางแผนหลังเกษียณ การบริหารหนี้สิน การออม และการลงทุน และ 3) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ คือ รายได้ ค่าใช้จ่าย และอัตราผลตอบแทน ที่ส่งผลต่อการจัดการการเงินส่วนบุคคลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านภาวะเงินเฟ้อ พบว่า ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อาจเกิดจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้มีรายได้และรายจ่ายที่แน่นอน จึงให้ความสำคัญกับการวางแผนการใช้จ่าย ภาวะเงินเฟ้อจึงเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่อาจส่งผลต่อประชากรกลุ่มอื่นหรือตัวแปรอื่นที่นอกเหนือจากงานวิจัยนี้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กานต์พิชชา กองคนขวา. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุต่อสุขภาพทางการเงินของประชาชนในจังหวัดพะเยาวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 39(1), 53-80.
ไกรวิชญ์ ประชุมพันธ์, ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์, และสุคนธ์ เครือน้ำคำ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้บริโภคเพื่อใช้จ่ายในอนาคตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิต วิทยาลัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(2), 313-330.
คณิตตา นัยนามาศ และ นรา หัตถสิน. (2562). พฤติกรรมการบริหารการเงินส่วนบุคคลของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(16), 32–51.
คนึงนิจ พลคำมาก. (2565). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมเพื่อวางแผนก่อนวัยเกษียณอายุของเจ้าหน้าที่สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน).
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566, 15 กุมภาพันธ์). แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน. https://www.bot.or.th/th/news-and-media/news/news-20230214.html
บุษปรัชต์ บุญธรรม. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาภาคเหนือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
พนมพล สุขวัฒนทรัพย์. (2563). ปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยแวดล้อมเกี่ยวกับการออมที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 3(2), 1-11.
ภณิตา สุนทรไชย, รทวรรณ อภิโชติธนกุล, และกอบชัย นิกรพิทยา. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขต อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ภัทรพงศ์ ฐิติกุล. (2563). การรับรู้การบริหารจัดการด้านการเงินส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อลักษณะการเป็นหนี้ของพนักงานบริษัทเอกชนในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วนิดา อินทสาร และ ชณทัต บุญรัตนกิตติภูมิ. (2564). ปัจจัยเชิงประจักษ์ที่ส่งผลต่อการบริหารเงินออมเพื่อ เตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุของประชาชนในจังหวัดชุมพร. วารสารบริหารธุรกิจ, 11(2), 46-56.
สมบูรณ์ สารพัด, นภาพร หงส์ภักดี, สืบพงศ์ หงส์ภักดี, และสิทธิเดช บำรุงทรัพย์. (2565). ผลกระทบของการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ทางการเงินและภาวะเศรษฐกิจที่มีผลต่อพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล กลุ่มวัยทำงานในจังหวัดชลบุรี. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(1), 54-63.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2566, 6 มกราคม). ศธ.ร่วมมือ 12 พันธมิตร แก้ไขปัญหาหนี้สินครูเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน. https://ops.moe.go.th/mou-12-good-partnership/.
สุชานาฏ โปอินทร์. (2564). การจัดการการเงินส่วนบุคคลของผู้สูงวัยอย่างมีความสุขในเขตภาคใต้ตอนบน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สุมานะ นาคผ่อง. (2563). ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อการออมเงินของเกษตรกรชาวไร่สับปะรดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
หทัยรัตน์ ควรรู้ดี, มาลิณี ศรีไมตรี, และอรวรรณ ตามสีวัน. (2565). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนตำบลคำไฮใหญ่ อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการจัดการและการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(1), 107-122.
Krejcie, R.V., & Morgan D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Phorncharoen, I., Chotivanich, P., & Phorncharoen, S. (2022). Economic Factors and Saving Attitudes Affecting Personal Savings/Investment Planning for Gen x. UBRU International Journal Ubon Ratchathani Rajabhat University, 2(3), 13-23.