พฤติกรรมและความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ 2 ฝั่งโขง กรณีศึกษา จังหวัดนครพนม

Main Article Content

ชลิดา ช่วยสุข
ดาริกาญจน์ วิชาเดช
จิราภรณ์ พรหมเทพ
อัจฉริยา ทุมพานิชย์
ชัยธวัช ศิริบวรพิทักษ์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวสำราญทางน้ำของ จังหวัดนครพนม และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ ตามตัวชี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว (TTCI) ใช้ที่วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวสำราญทางน้ำที่เดินทางมายังจังหวัดนครพนม จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวสำราญทางน้ำเดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนมายังจังหวัดนครพนม มีจุดประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว เพื่อการพักผ่อนนักท่องเที่ยวไม่มีประสบการณ์การท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ มีระยะเวลาของการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดนครพนม จำนวน 1-2 วัน เดินทางท่องเที่ยวภายในจังหวัดนครพนมเท่านั้น และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวต่อครั้งอยู่ที่ 15,001-20,000 บาท 2) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ ตามตัวชี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว (TTCI) พบว่า ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม โดยภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.24 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความน่าสนใจของทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประเพณี และงานเทศกาลที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และความหลากหลายของผู้คนและวิถีชีวิตชนเผ่า ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.28 ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำโขงของจังหวัดนครพนม โดยการจัดให้มีกิจกรรมนันทนาการ เพื่อการท่องเที่ยวทางน้ำให้มากขึ้น สถานประกอบการการท่องเที่ยวควรมีการนำเสนอรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวทางน้ำที่นักท่องเที่ยวทุกคนสามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้มากขึ้น และผู้ประกอบการการท่องเที่ยวควรสร้างกิจกรรมสำราญทางน้ำรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อลดความต้องการที่สูงในช่วงฤดูท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
ช่วยสุข ช., วิชาเดช ด. ., พรหมเทพ จ. ., ทุมพานิชย์ อ. ., & ศิริบวรพิทักษ์ ช. . (2025). พฤติกรรมและความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ 2 ฝั่งโขง กรณีศึกษา จังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 15(1), 340–354. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/275343
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566, 4 กรกฎาคม). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 3 พ.ศ.2566-2570. ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ. https://secretary.mots.go.th/category/60

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566, 15 สิงหาคม). สถิติของนักท่องเที่ยวชาวไทย. กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. https://secretary.mots.go.th/policy/

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ประจวบ จันทร์หมื่น. (2565). การบูรณาการแผนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรม ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงไทย-ลาว จังหวัดนครพนมถึงจังหวัดอุบลราชธานีและแขวงคำม่วนถึงแขวงจำปาสัก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 12(1), 82-95.

เพ็ญแข ศิริวรรณ และคณะ. (2551). สถิติเพื่อการวิจัย. เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

รัศมีพร พยุงพงษ์ และ เจกิตาน์ ศรีสรวล. (2566). พฤติกรรมการท่องเที่ยววิถีใหม่อย่างรับผิดชอบของนักท่องเที่ยวชาวไทยในแหล่งท่องเที่ยวชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี, 20(1), 24-33.

รุ่งระวี วีระเวสส์. (2559). ศักยภาพการแข่งขันการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาในตลาดโลก : วิเคราะห์ด้วยดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1), 260-268.

ศิริรัตน์ ขานทอง และ วันทกาญจน์ สีมาโรฤทธิ์ การ์ด. (2566). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดภูเก็ต. วารสารศิลปะการจัดการ, 7(2), 587-604.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563, ธันวาคม). โครงการจัดทำข้อมูลตามตัวชี้วัดตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการท่องเที่ยว (พ.ศ. 2561 – 2580). https://secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt/policy/download/article/article_20220222135024.pdf

สำนักงานจังหวัดนครพนม. (2564, 15 กันยายน). แผนพัฒนาจังหวัดนครพนม พ.ศ. 2566 –2567. จังหวัดนครพนม. http://www2.nakhonphanom.go.th/files/com_news_struct/2021-09_859756163e30c86.pdf

สุภัททิยา หล้าคำมี ยุรพร ศุทธรัตน์ และ พิทวัส เอื้อสังคมเศรษฐ์. (2560). การศึกษาศักยภาพของการท่องเที่ยวจังหวัดน่าน [เอกสารการนำเสนอ]. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55: ศาสตร์แห่งแผ่นดินสู่ประเทศไทย 4.0, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย.

สุรพร มุลกุณี. (2560). แนวทางการพัฒนาการจัดการท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยวเรือสำราญของประเทศไทย กรณีศึกษาท่าเรือแหลมฉบัง. [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์] . สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อัจฉรา ชีวะตระกลูกิจ ศรีธนา บุญญเศรษฐ์ อโณทัย งามวิชัยกิจ กัลยนุช กิตติพงศ์พิทยา และสุรเดช หวังทอง. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคการท่องเที่ยวเรือสำราญและการให้บริหารของผู้ประกอบการธุรกิจเรือ สำราญในกลุ่มท่องเที่ยวอันดามัน. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 16(1), 193-206.

อานุภาพ มีศิลป์, วัชระ ยี่สุนเทศ และ ทศพร มะหะ. (2561). พฤติกรรมการท่องเที่ยวทางเรือสำราญของนักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์, 2(2), 12-21.

Abbas, E. W., Jumriani, J., Syaharuddin, S., Subiyakto, B., & Rusmaniah, R. (2021). Portrait of Tourism Based on River Tourism in Banjarmasin. The Kalimantan Social Studies Journal, 3(1), 18-26.

Abou-Shouk, M., Zoair, N., Elbaz, A.M. and Abdel-Jalil, M. (2022). Local tourists' perceptions of tourist destinations' competitiveness: a comparative study of the United Arab Emirates, Egypt, and Oman. Worldwide Hospitality and Tourism Themes, 15(2), 143-154. https://doi.org/10.1108/WHATT-10-2022-0117

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. John Wiley & Sons. Inc.

Estevão, C., Ferreira, J. and Nunes, S. (2015). Determinants of Tourism Destination Competitiveness: A SEM Approach. Marketing Places and Spaces (Advances in Culture, Tourism and Hospitality Research, 10. 121-139. https://doi.org/10.1108/S1871-317320150000010009

Fachrudin H. T., & Lubis M.D. (2016). Planning for Riverside Area as Water Tourism Destination to Improve Quality of Life Local Residents, Case Study: Batuan – Sikambing River, Medan, Indonesia. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 234, 434-441.

Jennings, G. (2007). Water-Based Tourism, Sport, Leisure, and Recreation Experiences. Routledge

Łapko, A., & Panasiuk, A. (2019). Water tourism as a recipient of transport services on the example of Szczecin. Transportation Research Procedia, 39, 290-299. https://doi.org/10.1016/j.trpro.2019.06.031

World Economic Forum. (2019, 4 September). Travel & Tourism Development Index 2019. The World Economic Forum. https://www.weforum.org/publications/the-travel-tourism-competitiveness-report-2019/

Zadeh Bazargani, R. H., & Kilic, H. (2021). Tourism competitiveness and tourism sector performance: Empirical insights from new data, Journal of Hospitality and Tourism Management, 46, 73-82. https://doi.org/10.1016/j.jhtm.2020.11.011