แนวทางการพัฒนาด้านภาษีอากรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

นฤมล อริยพิมพ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาภาษีและเสนอแนวทางในการพัฒนาความรู้ด้านภาษีอากรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยเน้นการศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ค่าร้อยละ และ 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่รับผิดชอบงานด้านการดูแลหรือจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีประสบการณ์ด้านบัญชี และภาษีน้อย และมีความเข้าใจในหลักการบัญชีภาษีอากรน้อย ซึ่งพบปัญหาทางด้านภาษีอากร จำนวน 7 ข้อ ดังนี้ 1) การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษี 2) การคำนวณค่าเสื่อมราคาทางบัญชี 3) การจำแนกรายได้ที่ได้รับ  การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 4) การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อ 5) การให้บริการตามสัญญา 6) การขายสินค้าผ่านตัวแทน และ 7) การกำหนดมูลค่าฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ดังนั้นจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขโดยการส่งเสริมความรู้ทางภาษีอากรผ่านการอบรม และการจัดทำคู่มือบัญชีและภาษีที่ง่ายต่อการใช้งาน เพื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสามารถปฏิบัติตามกฎหมายภาษีได้อย่างถูกต้อง และลดความเสี่ยงในการทำผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ควรมีการอัพเดทข้อมูลทางบัญชีและภาษีอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ และการสร้างช่องทางให้คำปรึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
อริยพิมพ์ น. (2025). แนวทางการพัฒนาด้านภาษีอากรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 15(1), 316–325. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/277215
บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพากร. (2562). คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน. กรมสรรพากร.

กลุ่มทะเบียนและสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. (2566). สรุปจำนวนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ที่อนุมัติการจดทะเบียนแล้ว. กลุ่มทะเบียนและสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน.

เฉลิมเจษฎ์ สมานุหัตถ์, นิคม ลนขุนทด, เที่ยงธรรม สิทธิจันทเสน และ อัษฎา วรรณกายนต์ (2567). ปัญหากฎหมายด้านวิสาหกิจชุมชน และความต้องการระบบสารสนเทศที่ปรึกษากฎหมายด้านวิสาหกิจชุมชน. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(3), 189-202.

ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม และ ดุลยลักษณ์ ตราชูธรรม. (ม.ป.ป). ปัญหาและแนวทางแก้ไขหลักเกณฑ์การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล. chrome-extension:// efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://library.coj.go.th/pdf-view.html?fid=42403 &table=files_biblio

ทศพร แก้วขวัญไกร. (2560). ทางรอดวิกฤติเศรษฐกิจด้วยแนวทางวิสาหกิจชุมชน. วารสารเศรษฐศาสตร์ชุมชน, 5(1), 20-30.

ธนภัทร กันทาวงค์, นิศารัตน์ ไชยวงศ์ศักดา, สุภมล ดวงตา, กัสมา กาช้อน, นิรุตต์ ชัยโชค, วิไลลักษณ์ วงษ์ชัย และพีระพล ศรีวิชัย. (2567). การเสริมสร้างศักยภาพทางการบัญชีและภาษีของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงราย. วารสารบัญชีปริท้ศน์มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 9(1), 247-265.

นฤมล อริยพิมพ์. (2564). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดทำบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบริการรับทำบัญชีจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 207–217.

นวพร ชู้เปี้ยเต้ง, อุทิศ เสือแก้ว และ ชลดา มนัสทรง. (2564). ความรู้ ความสามารถ และประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีจังหวัดภาคใต้. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา เชิงพุทธ, 6(4), 192-208.

ภัทรภร กินิพันธ์. (2564). ปัญหาการจัดทำบัญชีด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้ทำบัญชีในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 130-138.

รัชดา ภักดียิ่ง. (2563). การพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research, 6(1), 175-189.

วชิรา ไฝเจริญมงคล และจิราพร เชียงชะนา. (2565). การศึกษาปัจจัยแวดล้อมที่สนับสนุนการพัฒนาของวิสาหกิจชุมชน. วารสารการจัดการและพัฒนา, 15(4), 55-70.

วราพร เปรมพาณิชย์นุกุล และ กฤตยา แสงบุญ. (2566). ผลกระทบของการวางแผนภาษีเพื่อการส่งเสริม การขายที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านภาษีอากรของผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 17(26), 54-71.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). Harper Collins.

Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper&row.com