แนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการบริหารจัดการของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารจังหวัดยะลา

Main Article Content

กัลยรัตน์ พินิจจันทร์
ดุษฎี นาคเรือง
วัชระ ขาวสังข์
ปิยะดา มณีนิล
ปวีณา เจะอารง
อับดุลเราะห์มาน สาและ
ภูริชาติ พรหมเต็ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาศักยภาพทางการบริหารจัดการของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารจังหวัดยะลา และศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการบริหารจัดการของผู้ประกอบการสินค้าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารจังหวัดยะลาได้ดำเนินการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารจังหวัดยะลา จำนวน 144 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 94 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับ ร้อยละ 65 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพทางการบริหารจัดการแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านการตลาด ด้านการเงินและบัญชี ด้านการผลิต ด้านการจัดการ และด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการบริหารจัดการให้กับผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารจังหวัดยะลา ต้องอาศัยการพัฒนาโดยการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่หลากหลายโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน การจัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า และการทำการส่งเสริมการตลาดเพิ่มมากขึ้น การจัดทำแผนการดำเนินงานด้านการผลิต การจัดทำงบการเงินที่ถูกต้อง ส่งเสริมการศึกษาดูงานและให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะทางการ
บริหาร เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Community Development Department Ministry of the Interior. (2017a). Summary Operating Results, Register the manufacturer, OTOP Entrepreneur 2014-2015, 1st quarter (November - December 2014) [Online]. Retrieved September 18, 2016, from: https://www.facebook.com/ OTOPNews/posts/827080847335221. (in Thai)
2.Community Development Department Ministry of the Interior. (2017b). Report number of manufacturers, Entrepreneur and Product OTOP in 2014 Yala Province [Online]. Retrieved September 18, 2016, from: http;//113.53.241.24/CDDReport/rpOverview.aspx. (in Thai)
3.Community Development Department Ministry of Interior. (2016). OTOP Product sales results [Online]. Retrieved July 10, 2015, from: www.gn.cdd.go.th/web_wis/. (in Thai)
5.E-sor, A., Kanchanatanee, K., Jeharrong, P. & Susaro, R. (2017). The Development of Southern Border Small Enterprises in Creative Economy Form. Journal of Yala Rajabhat University, 12(1), 161-177. (in Thai)
6.Kasornbua, T. & Namsawat, A. (2013). The Competency Development of One Tambon One Product (Otop) Community Enterprise to Small and Medium Enterprises (SMEs): A Case Study of Processed Banana Food Products Community Enterprise. Modern Management Journal, 11(2), 74-86. (in Thai)
7.Mukda, W. (2014). Guidelines Management of Product Manufacturing Group on One Tambon One Product in Tak Province. SDU Research Journal Humanities and Social Sciences, 10(1), 187-206. (in Thai)
8.Puttikanjanakul, A., Phattarowas, V. & Limpiangkanan, P. (2015). The Operations Development of One Tambon One Product (OTOP) to Support the ASEAN Economic Community (AEC) of the Entrepreneurs in Amphoe Hang Dong, Chiang Mai. Journal of Management & Marketing Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 2(1), 75-85. (in Thai)