ภูมิปัญญาท้องถิ่นในวัฒนธรรมชายแดนไทย-มาเลเซีย : กรณีศึกษาชุมชนโล๊ะจูด จังหวัดนราธิวาส
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนโล๊ะจูด อำ าเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีพื้นที่วัฒนธรรมติดตะเข็บชายแดนไทย-มาเลเซียและผืนป่าป่าบาลา ฮาลา ดำเนินวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสังเกตลักษณะภูมิปัญญา และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้นำชุมชน ช่างฝีมือ นักแสดง ชาวบ้าน แล้วนำามาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษา ภูมิปัญญาแต่ละด้านพบว่า ด้านศิลปะมีการผลิตหัตถกรรม เครื่องดนตรีจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น ผลิตกรงนกที่สะท้อนคุณค่าทางสุนทรียะ ด้านการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม มีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นโดยอดีตผู้นำชุมชน สืบต่อจนถึงอนุชนรุ่นหลังที่พยายามสืบทอดและจัดการด้วยตนเอง โดยไม่หวังพึ่งพารัฐมากนัก ด้านปรัชญาความเชื่อมีการสืบทอดศาสนาทั้งพุทธและอิสลาม ความเชื่อด้านการใช้ดนตรีตือรีรักษาโรคยังคงดำรงอยู่ ขณะที่พิธีเซ่นไหว้ของนายหนังตะลุง มุสลิมสิ้นสุดลงพร้อมการสลายตัวของหนังตะลุงในพื้นที่ ด้านภาษามีคำพูดที่ใช้ร่วมกันของคนไทยพุทธและมุสลิม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้สะท้อนถึงวัฒนธรรมชายแดนไทย-มาเลเซียในเรื่องการบูรณาการวัฒนธรรม การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม การแสดงตัวตนที่ผันแปรตามบริบท การสานใจร่วมกันระหว่างชาวพุทธกับมุสลิม ความอยู่รอดของภูมิปัญญาท้องถิ่นท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมใหม่
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.ธนิก เลิศชาญฤทธิ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ :ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
3.นิคม มูสิกะคามะ. (2545). วัฒนธรรม : บทบาทใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
4.นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2554). วัฒนธรรมมลายู : มุมมองฟอสซิล ใน ตันหยงบุหงา อุทยานวัฒนธรรมมลายูปัตตานี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 เมษายน 2558, จาก : Thaiamn.news.org/view/php?=697.
5.นิยามาล อาแย.(2553). ความเป็นตัวตนของคนมลายูมุสลิมในเมืองยะลา. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2(2), 91-106.
6.ปัญญา เทพสิงห์. (2554). บาเตาะ : คนกินเนื้อคน เรื่องเล่าหรือความจริงบนผืนป่าฮาลา บาลา จังหวัดนราธิวาส. วารสารศิลปวัฒนธรรม, 32(11), 43-64.
7.ประสิทธิ์ รัตนมณี นราวดี โลหะจินดา นิปาตีเมาะ หะยีหามะ อรอุษา ปุณยบุรณะและจิดาพร แสงนิล. (2550). รายงานวิจัยวัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้(ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส). ปัตตานี : สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
8.ปิยะ กิจถาวร. (2547). วิจัยชาวบ้านในบริบทของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชุมชนชายแดนปัตตานี : หน่วยวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่าง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.
9.พงศักดิ์ พรมแก้ว. (2544). รายงานวิจัยความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับการนับถือผีกับบทบาททางสังคมของชาวพุทธที่นับถือศาสนาพุทธในภาคใต้. กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
10.ลดาวัลย์ แก้วสีนวล. (2549). การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมระหว่างไทยพุทธและชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการประชุมวิชาการสื่อสารมวลชนระดับชาติ. [ออนไลน์].
ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2558, จาก : http//www.Thaireform.in.th/various_reform.Dimension/item/201-3
11.มาลี ไพรสน. (2549). รายงานวิจัย การศึกษาภูมิปัญญาการจัดการทรัพยากรในมิติวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านป่าส้าน ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า
จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ : สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงวัฒนธรรม.
12.ฤาชุดา เทพยากุล. (2555). การเรียนรู้ภูมปัญญาไทย : จากรัฐธรรมนูญสู่สถานศึกษาวารสารหลักสูตรและการสอนทักษิณ, 7(1), 1-8.
13.ศรีศักร วัลลิโภดม. (2545). พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2558, จาก : www.lek-prapai.org/watch.php?id=631.
14.ศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนภาคใต้. (2556). สถิติการก่อเหตุรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา : ศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนภาคใต้.
15.สุมาลี สังข์ศรี. (2550). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, 2(3), 97-101.
16.เสรี พงศ์พิช. (2547). ร้อยคำที่ควรรู้. กรุงเทพฯ : พลังปัญญา.
17.องค์การบริหารส่วนตำบลโล๊ะจูด. (2558). ข้อมูลประชากรในตำบลโล๊ะจูด. นราธิวาส :องค์การบริหารส่วนตำบลโล๊ะจูด
18.อมรา พงคาพิชญ์. (2545). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
19.อับดุลลอฮ์ อัลอุซามะฮ์. (2550). ความเชื่อของมุสลิมที่มีต่ออัสสิหร์ (ไสยศาสตร์) อัลกะฮานะ(การทำนาย) อัลอิรอฟะ (การดูดวง) : กรณีศึกษาในอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาอิสลามศึกษา,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
20.อับดุรรอฮ์มาน จะปะกิยา. (2553). การอนุรักษ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในประเทศมาเลเซีย : กรณีศึกษาความประเพณีและวัฒนธรรมของคนสยามในเขตตุมปัตรัฐกลันตัน. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา, 5(8), 85-98.
21.อาแว มะแส. (2555). ชุมชนศรัทธา : แนวทางพัฒนาสังคม บนฐานของศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 6(2), 35-63.
22.เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : อมรินทร์