ความคาดหวังของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

กาญจนา ลออเลิศลักขณา
วาสนา จักร์แก้ว
สิทธา พงษ์ศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาในจังหวัดลำปาง และเพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาในจังหวัดลำปาง ซึ่งด้านที่มีความคาดหวังสูงสุด คือ ด้านบุคลากร คือครูผู้สอนมีจิตใจดี มีเมตตา และให้ความรักกับนักเรียนด้วยความจริงใจ ด้านอาคารสถานที ่และสิ ่งแวดล้อม จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกพบว่า ด้านวิชาการควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นักเรียน เช่น ความมีเมตตา ความสามัคคี ความประหยัด เน้นความเป็นไทย ด้านบุคลากรครูต้องเป็นผู้มีความเมตตา มีจิตวิญญาณของ ความเป็นครู ด้านผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีความมุ่งมั่นต่อการจัดการศึกษา ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมมีระบบมาตรการรักษาความปลอดภัย โรงเรียนควรมีเวลาปิด-เปิดเรียนเป็นเวลา ควรจัดให้ผู้ปกครองเซ็นชื่อเวลามารับเด็กตอนเลิกเรียน หรือจะใช้ระบบ สแกนภาพเวลามารับเด็กด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองครูควรจะจัดทำเป็นรายบุคคลให้ทางโรงเรียนแจ้งผลเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กระหว่างอยู่ในโรงเรียนไปยังผู้ปกครองได้รับทราบมีการรายงานพฤติกรรมทุกด้านของเด็กให้ผู้ปกครองรับทราบเป็นประจำทุกเดือน ต้องการให้มีระบบสารสนเทศที่มีการบันทึกพฤติกรรมและผลการเรียนของเด็กใน คอมพิวเตอร์ หรือผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ที่ผู้ปกครองสามารถเปิดเข้าไปดูข้อมูลและสามารถ ป้อนข้อมูลกลับมาให้ทางโรงเรียนได้ โดยมีการกำหนดรหัสของเด็กและการเข้าใช้ระบบเพื่อป้องกันให้ผู้อื่นเข้าไปดูข้อมูลได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.จันทรา จันทร์สุขสวัสดิ์. (2546). ศึกษาความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาของโรงเรียนอนุบาลจันทรา อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยบูรพา.
2.มณนิภา ชุติบุตร. (2542). การศึกษาสภาพการเรียนรู้จากหนังสือของนักเรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการ, 8, 44.
3.มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง. (2557). ผลการดำเนินงานของโรงเรียนสาธิตละอออุทิศประจำปีการศึกษา 2557. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต,โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ.
4.ศักดิ์ชาย เรืองวัชรศักดิ์. (2551). ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโรงเรียนสองภาษาเทศบาลตำบลเก่งคอย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 3, 51-58.
5.สมบูรณ์ ผลนาค. (2546). ความคิดเห็นของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานศึกษาต่อในโรงเรียนจุฬาภรณ์วิทยาลัยปทุมธานี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
6.สุภาภรณ์ จุลดำเนินธรรม. (2550). ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนวิสุทธิ์กษัตรี. ปัญหาพิเศษ. สาขาการบริหารทั่วไป,
มหาวิทยาลัยบูรพา.
7.อุดม เชยกีวงศ์. (2545). หลักสูตรท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ การปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ :กรุงธนพัฒนา.