ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสำนักงานรับจัดทำบัญชี จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการรับรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และความพร้อมของสำนักงานรับจัดทำบัญชี และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสำนักงานรับจัดทำบัญชี จังหวัดลำปางเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 62 คน เครื่องมือคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอยู่ในระดับปานกลาง และความพร้อมในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอยู่ในระดับปานกลาง แบ่งออกเป็น 4 ด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย คือมีความพร้อมด้านวิชาชีพบัญชี ด้านกฎหมาย ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านภาษา ตามลำดับ ปัจจัยการรับรู้และความเข้าใจมีผลต่อความพร้อมในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสำนักงานรับจัดทำบัญชี จังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.นงลักษณ์ ศิริพิศ สุชญา มานวกุล และปฐมาภรณ์ คำชื่น. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีไทยกับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (AEC) กรณีศึกษาสำนักงานบัญชีที่ผ่านการรับรองคุณภาพจากสำนักงานบัญชี ตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. สาขาการบัญชี,คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
3.นฤมล สุมรรคา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : กรณีศึกษา สถานประกอบการ จังหวัดสระบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
4.วีรากร อุตร์เลิศ. (2555). การเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน กรณีศึกษา : พื้นที่เทศบาลตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทยจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
5.ลัดดา หิรัญยวา. (2555). นักการบัญชีไทยกับความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชี ตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
6.สมใจ กงเติม. (2555). การศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน,
คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
7.Barrow, R. & Milburn, A. (1990). A Critical Dictionary of Educational Concepts. (2nd ed). New York: Teachers college.
8.Bloom. (1970). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw – Hill.