ปัจจัยความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ

Main Article Content

ระวีวรรณ ศรีคต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ปัจจัยความผูกพันต่อองค์การ 2) ประสิทธิภาพ การดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ และ 3) ปัจจัยความผูกพัน ต่อองค์การที ่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยศูนย์การศึกษาพิเศษกลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 66 ศูนย์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ข้าราชการครูและพนักงานราชการ ศูนย์ละ 4 คน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 264 คน เครื่องมือที่ ใช้ ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ที่ ไม่มีโครงสร้าง และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความผูกพันต่อองค์การ โดยภาพรวมอยู่ ในระดับมาก โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความจงรักภักดีต่อองค์การ ด้านประสบการณ์ ในการทำงาน ด้านการมีส่วนร่วมในองค์การ ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา และด้านบรรยากาศในองค์การตามลำาดับ ส่วนประสิทธิภาพการดำาเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ ในระดับมาก โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการประกันคุณภาพ ด้านการจัดการศึกษา ด้านผู้บริหาร ด้านสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านครู และด้านคุณภาพผู้เรียน ตามลำดับ และปัจจัยความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ โดยภาพรวม โดยสามารถ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชาด้านความจงรักภักดีต่อองค์การ และด้านประสบการณ์ ในการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายปฏิรูปการศึกษาสำหรับคนพิการในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561), 7.
2.ทวิพันธ์ พัวสรรเสริญ. (2552). ความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง,สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.
3.บัณฑิต ผังนิรันดร์. (2550). อิทธิพลของลักษณะขององค์การ นโยบายการบริหาร และการปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อม การทำงานภายในองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์การ ที่มีต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,สาขาวิชาการอุดมศึกษา.
4.เบญจวรรณ ศฤงคาร. (2556). โมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลของภาวะผู้นำและบรรยากาศองค์การต่อการได้สิทธิอำนาจเบ็ดเสร็จ ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และความตั้งใจลาออกจากงานของผู้จัดการสาขาธนาคารพาณิชย์ไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สาขาบริหารธุรกิจ.
5.ไพรภ รัตนชูวงศ์. (2555). ปัจจัยเชิงสาเหตุของความรู้สึกถึงการมองโลกในแง่ดีทางวิชาการที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อวิชาชีพ และประสิทธิผลการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา
ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,สาขาการบริหารการศึกษา.
6.ราชกิจจานุเบกษา. (2554). ประกาศ เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2555-2559.). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2557,จาก : www.sesa10.go.th/sesa10/data/dec54/1.pdf
7.Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1990). Organizational socialization tactics: A longitudinal analysis of links to newcomers’ commitment and role orientation.
Academy of Management Journal, 33(5), 710–720.
8.Best, W. J. (1997). Research in Education, 3rd ed. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall, Inc.
9.Bowditch, J. J. & Buono, A. F. (1997). A Primer On Organizational Behavior. New York: John Wiley and Sons.
10.Brewer, A. M. & Lock, P. (1995). Managerial Strategy and Nursing Commitment in Australian Hospitals. Journal of Advanced Nursing, 21, 789–799.
11.Buchanan II, B. (1974). Building Organizational Commitment: The Socialization of Manager in Work Organization. Administrative Science Quarterly, 19, 533–546.
12.Kanter, R. M. (1968). Commitment and social organization: A study of commitment mechanisms in utopian community. American journal of sociology review, 33,
499-517.
13.Kent, A. & Sullivan, P. J. (2003). Coaching efficacy ad a predictor of university coaches commitment. International Sports Journal, 7(1), 78–87.
14.Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
15.Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York: John Willey and Sons.
16.Steers, R. M. & Porter, L. W. (1983). Motivation and Work Behavior. New York: McGraw – Hill.