ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

อารีย์ สงวนชื่อ
ปัณณทัต ตันธนปัญญากร
รัตนาภรณ์ อาษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง อาศัยอยู่ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 206 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เก็บที่รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ประกอบด้วย 6 ชุด ได้แก่ 1.) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 2.) แบบทดสอบสภาพสมองของไทย 3.) แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วย 4.) แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน 5.) แบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัว และ 6.) แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เชิงถดถอย ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง คิดเป็นร้อยละ 12.5 โดยเป็นภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อย ร้อยละ 12.0 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความบกพร่องด้านความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (OR= 4.89, 95% CI= 1.99-8.33, p= 0.006) การรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วย (OR= 1.09, 95% CI= 1.04-1.15, p= 0.001) ความเพียงพอของรายได้ (OR= 6.58, 95% CI= 1.60-16.80, p= 0.014) และจำนวนโรคร่วม (OR= 2.15, 95% CI= 1.10-4.25, p= 0.030) ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขควรให้ความสำคัญกับปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วย ความเพียงพอของรายได้ และจำนวนโรคโรคร่วม และนำไปใช้ในการวางแผนป้องกันและควบคุมการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ เพื่อช่วยให้ลดการเกิดภาวะซึมเศร้าและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Beck, D. A. & Koenig, H. G. (1996). Minor depression: A review of the literature. Internal Journal Psychiatry in Medicine, 26(2), 177-209.

2. Bunloet, A. (2016). Prevalence and Factors Associated with Depression among the Elderly Community Residents with Chronic Diseases in Samliam Urban Primary Care Unit, Khon Kaen. Srinagarind Med J, 31 (1), 25-33. (in Thai).

3. Chinsangnet, P. (1995). Life Satisfaction of the Elderly and Its Relation with Self-care Behaviors and the Family Relationship in Eastern Seaboard of Chonburi. M.Sc. Thesis. Mahidol University. (in Thai).
4. Eliopoulos, C. (2015). Executive Director American Association for Long Term Care Nursing. New York: Lippincott Williams & Wilkins.

5. International Health Policy Program. (2012). The report of disability-adjusted life year of Thai population. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai).
Jitaree, B. (2012). The Factors Influencing Depression Amongst the Elderly at a Community in Nakhon Pathom Province. M.N.S Thesis in nursing. Cristian University. (in Thai).

6. Jitapunkul, S. (1994). The validity and factor analysis of the geriatric depression Scale using in Thai elderly. Chulalongkorn Medical Journal, 7, 383-389. (in Thai).

7. Lueboonthavatchai, O. (2011). The mental health and psychiatric nursing. (2 nd ed). Bangkok: V. Print. (in Thai)

8. National Statistical Office. (2014) Report on the 2014 survey of older persons in Thailand. Bangkok: Text and Journal Publication. (in Thai).
Poungvarin, N. (1994). Thai geriatric depression scale. Siriraj Medical Journal, 46, 1-8.

9. Ratthanapan, S. (1998). Factor related to spiritual health of elderly admitted in a hospital. M.N.S Thesis in nursing. Prince of Songkla University. (in Thai).

10. Sindhu, S. (2011). Factors Associated with Depression in Elderly Peritoneal Dialysis Patients. Journal of nursing science, 29(3), 84-92. (in Thai).
Train the brain Forum Committee. (1993). Thai Mental State Examination. Siriraj Medical Journal, 45, 359- 374.
11. Weyerer, S. (2008). Prevalence and risk factors for depression in non-demented primary care attenders aged 75 years and older. J Affect Disorder, 111(2-3),153-163. .

12. Wongpakaran, N. (2008). Psychotropic in Thailand elderly. Journal of the psychiatric association of Thailand, 53(1), 39-46. (in Thai).

13. World Health Organization. (2011). Depression [Online]. Retrieved September 11, 2016, from: https://www.who.int/ mental_health/management/depression/definition/en.

14. Wongpoom, T. (2011). Prevalence of Depression among the Elderly in Chiang Mai Province. Journal of Psychiatric associated Thailand, 56(2), 103-116. (in Thai).

15. n Yaiyong, O. (2010). Depression and grief of the elderly at the elderly associate in Nonthaburi Province. M.Sc. Thesis in Mental health. Chulalongkorn University. (in Thai).

16. Yodkul, S. (2012). Predictive Factors of Depression among Older People with Chronic Disease in Buriram Hospital. Journal of Nurses’ association of Thailand, 30(3), 50-57. (in Thai).