การพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ โดยใช้กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตสำหรับนักศึกษากลุ่มวิชาชีพครู

Main Article Content

Pasuta Kaewmanee
Anchalee Thasook
Chalisa Koysupsin

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อสร้างสรรค์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนจากการเรียนด้วยสื่อสร้างสรรค์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง ตัวอย่างในการวิจัยคือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้แก่ 1) ตัวอย่างเพื่อศึกษาประสิทธิภาพสื่อได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 42 คน และ 2) ตัวอย่างเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน มีผู้เรียนจำนวน 25 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางก่อน-หลังเรียน และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนจากการเรียนด้วยสื่อสร้างสรรค์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อสร้างสรรค์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.04/83.35 2) ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนหลังเรียนด้วยสื่อสร้างสรรค์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนจากการเรียนด้วยสื่อสร้างสรรค์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Department of Curriculum and Instruction Development, Ministry of Education. (2002). Learning media development guide. Bangkok: Department of Curriculum and Instruction Development, Ministry of Education. (in Thai)

2. Egloffa, F., Förstera, N. & Souvigniera, E. (2019). Students´ reading ability moderates the effects of teachers´ beliefs on students´ reading progress. Frontline Learning Research, 7(1), 1-22.

3. Fernando, YJN, S. & Marikar, MMT, F. (2017). Constructivist teaching/learning theory and participatory teaching methods. Journal of Curriculum and Teaching, 6(1), 110-122.

4. Fongsri, P. (2007). Educational research. (4th ed.). Bangkok: Property Print. (in Thai)

5. Gustafson, K. L. & Branch, R. M. (2002). Survey of instructional development models [Online]. Retrieved April 6, 2018, from: https://eric.ed.gov/?id=ED411780.

6. Israsena na Ayudhya, V. (2016). Things to know about STEM Education. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

7. Kanjanavarsi, S. (2009). Traditional test theory. (6th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

8. Kankarunyakul, H., & Phongern, V. (2013). The development of sketching design book based on constructivism to enchance creative thinking of Mathayomsuksa four students. Veridian E-Journal, Silpakorn University Humanities Social Sciences and arts, 7(1), 831-843. (in Thai)

9. Kasinan, J. (2017). Creative media for enhancing the consciousness of water conservation among youth. Case study: downstream people, Klong Tha Nae Phatthalung Province. Romphruek journal, 35(2), 9-32. (in Thai)

10. Khemmanee, T. & Pramuansilchai, P. (2004). Learning reform in school: Experience and strategy of scholar integrated study with Schools. Bangkok: Pattanakhunnapabvuchakan (PorWor.)Ltd.

11. Laohajarassang, Th. (2000). Using information technology in the era of educational reform. Journal of Education Naresuan University, 3, 28-31. (in Thai)

12. Liang, H. & Li, X. (2018). Research on innovation method of college english translation teaching under the concept of constructivism. Educational Sciences: Theory & Practice, 18(5), 2455-2461.

13. McGriff, S. J. (2003). Instructional system design (ISD): Using the ADDIE model [Online]. Retrieved April 6, 2018, from: https://www.lib.purdue.edu.

14. Mingsiritham, K. (2016). Creative educational media design. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

15. Phromwong, Ch. (2013). Media or instruction set performance testing. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), 1-20. (in Thai)

16. Phongphuangphet, P., Piyakul, A., & Sitti, S. (2017). The development of science teaching model based on constructivist theory to enhance knowledge construction ability and eagerness to learn of Prathomsuksa 4 students. Journal of Yala Rajabhat University, 12(2), 93-105. (in Thai)

17. Pongsopa, P. (2001). Educational psychology. Bangkok: Pattanasuksa. (in Thai)

18. Saiyod, A., & Saiyod, L. (2000). Learning performance measurement techniques. (2nd ed.). Bangkok: Suweeriyasan. (in Thai)

19. Sengwong, P (2017). Development of learning innovation through classroom research methods. Bangkok: E.K. Books. (in Thai)

20. Songkram, N. (2010). Multimedia for learning: Design & development. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

21. Suramane, S., Arreerard, Th., & Arreerard, W. (2016). Teaching- learning model based upon constructivist theory by simulation technique on computer network for education. Journal of Education Mahasarakham University, 10(special issue), 940-956. (in Thai)

21. Sutthirat, Ch. (2010). New learning management, theory, practice and research results. Bangkok: Sahamit Printing and Publishing. (in Thai)

22. Vorrakham, P. (2012). Educational research. (4th ed.). Mahasarakham: Taksila Printing. (in Thai)

บุคลานุกรม
1. อ๋องเอื้อ นักศึกษา (ผู้ให้สัมภาษณ์). ปสุตา แก้วมณี (ผู้สัมภาษณ์). ที่คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2559.
2. อามะ นักศึกษา (ผู้ให้สัมภาษณ์). ปสุตา แก้วมณี (ผู้สัมภาษณ์). ที่คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2559.
3. สิทธิการ นักศึกษา (ผู้ให้สัมภาษณ์). ปสุตา แก้วมณี (ผู้สัมภาษณ์). ที่คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2559.