การบริหารจัดการการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ชายแดนประเทศไทยในอนาคต

Main Article Content

รูซือมัน อาแวเง๊าะ
นิสาพร มูหะมัด
วิชิต เรืองแป้น
วารุณี หะยีมะสาและ
นฤมล ทองมาก

บทคัดย่อ

ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคบริเวณชายแดนไทยมีความจำเป็นต้องค้นหาวิธีการบริหารจัดการการป้องการโรคและควบคุมการติดต่อในพื้นที่ชายแดนในอนาคต โดยใช้เทคนิค EDFR เพื่อศึกษาการบริหารจัดการการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ชายแดนในอนาคต โดยกลุ่มเป้าหมายในการเก็บข้อมูลคือ นักวิชาการสาธารณสุขและเจ้าพนักงานสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานประจำด่านพรมแดนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เลือกแบบเจาะจงจำนวน 24 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์และการตอบคำถามด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และหาค่าทางสถิติได้แก่ มัธยฐาน ฐานนิยม ความแตกต่างระหว่างฐานนิยมกับมัธยฐาน ค่าพิสัย และค่าควอไทล์ พบว่า การบริหารจัดการการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในอนาคตควรมี 5 ด้าน คือ 1) ด้านสภาพสังคมบริเวณชายแดนไทย 2) ด้านสถานการณ์และปัญหาโรคติดต่อในพื้นที่ชายแดนไทย 3) ด้านการใช้กฎอนามัยระหว่างประเทศ  4) ด้านการดำเนินงานของทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว และ 5) ด้านการบริหารจัดการ ซึ่งที่ควรตระหนักและทำได้ตอนนี้เพื่อใช้ในอนาคตคือการกำหนดกฎอนามัยระหว่างประเทศเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคบริเวณชายแดน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Epidemiology. (2014). Communicable disease situation in Thailand. Bangkok: Delivery organization printing factory and parcels. (in Thai)

Pinna, C. (2012). Effectiveness of the Malaria Control Program in Malaria-Endemic Provinces Under the Global Fund Project, Thailand. Journal of Health Science, 22(6), 944-55. (in Thai)

Poolpattarachivin, C. (1993). Future research, Journal of Research Methodology, 1(1), 22-24. (in Thai)

Viriyawongsanukul, S. (2011). Forms and participation of people with surveillance and prevention Outbreaks of infectious diseases along the western border of Thailand. (in Thai)

World Health Organization (2010). International Health Regulations 2005. [online]. Retrieved March 20, 2014, from: http://apps.who.int/gho/data/. (in Thai)