บ้านสมัยใหม่ : ผลกระทบและการปรับตัวของชาวมุสลิมมลายูในกัมปงไอร์ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม

Main Article Content

ปัญญา เทพสิงห์
เก็ตถวา บุญปราการ
เกษตรชัย และหีม
เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์

บทคัดย่อ

   งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์บ้านสมัยใหม่กับผลกระทบและการปรับตัวของชาวมุสลิมมลายูในกัมปงไอร์ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม เป็นการใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม โดยศึกษาจากวัฒนธรรมทางวัตถุ การสังเกต และสัมภาษณ์เจาะลึก ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูล 13 คน ได้แก่ ผู้นำชุมชน เจ้าของบ้านในกัมปงไอร์ นักวิชาการ ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและสร้างข้อสรุป นำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า บ้านสมัยใหม่ของชาวมุสลิมมลายูมีลักษณะที่แตกต่างจากบ้านแบบประเพณี ทั้งโครงสร้างและการจัดสรรพื้นที่ ส่งผลให้ชีวิตผู้คนต้องปรับตัว เพื่อให้ทันกับรูปแบบบ้านที่เปลี่ยนไป ยังมีคนจำนวนมากอาศัยบ้านแบบประเพณี โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่เห็นว่าบ้านสมัยใหม่ไม่ตอบสนองต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวมลายู ส่วนคนที่อาศัยบ้านสมัยใหม่ระยะแรกๆ มีภาวะความล้าทางวัฒนธรรม เนื่องจากลักษณะบ้านเปลี่ยนไปเร็วกว่าที่สังคมจะตามทัน จนปัจจุบันสามารถปรับตัวได้ตามสภาพการณ์ สัมพันธ์กับการใช้สอยตามวิถีชีวิตมุสลิมมลายู ซึ่งแบ่งได้สองแบบคือ การใช้สอยในบ้านที่ยังยืดจารีตอิสลาม และการใช้สอยในบ้านที่ยึดวิถีอิสลาม   แต่ปรับเปลี่ยนบางสิ่งตามโลกสมัยใหม่ หันไปยอมรับวัฒนธรรมตะวันตกและสังคมบริโภคนิยม ซึ่งสะท้อนได้จากเครื่องใช้สอยหรือการจัดพื้นที่บ้านสมัยใหม่  ปัจจุบันรัฐส่งเสริมกัมปงไอร์เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ถูกควบคุมด้วยหลักศาสนาอิสลาม  สภาพนี้ส่งผลให้ชีวิตในบ้านสมัยใหม่ของมุสลิมมลายูในกัมปงไอร์ตกอยู่ในกระแสทั้งอิสลามานุวัตน์และโลกสมัยใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Adenan, R., Rodrigues, L., Borsi, K. & Kiamba, L. (2014). Kampong Ayer: A Community Living on Water in Brunei Darussalam [Online]. 30th International PLEA Conference 16-18 December 2014 CEPT University Ahmedabad Retrieved June 2, 2017, from: http://www.plea2014.in/wp-content/uploads/2014 /12/Paper_5A_2674_PR.pdf.

2. Ali, M. (2009). Major Development in Islam World. New Delhi: Cyber Tech.

3. Blanc, L. (2012). Interview column. The Brunei Times Newspaper 7 February, 17-18.

4. Cable, M. & Cook, S. (2008). The Golden Rule. London: Rare Corperate.

5. Cleary, M. & Kim, S. (1991). The Changing Socio-Economic Structure of Kampong Ayer, Brunei Darussalam [Online]. Retrieved June 24, 2016, from: http://www.researchgate.net/publication/.

6. Crossman, A. (2017). What Is Cultural Lag? [Online]. Retrieved may 11, 2017, from: https://www.thoughtco.com/cultural-lag-3026167.

7. Dobbarah, A. (2007). Relation of Mankind and Allah. Bangkok: The Islam Bookcenter. (in Thai)

8. Ibrahim, A. (2012). Kampong Ayer Living Memory. Bandar seri Begawan: Pentagram Design Sdn. Bhd.

9. Lefebrve, H. (1991). The Production of Space. Tranlated by Donald Nichoson-Smith. Malden, Massachusettes: Blackwell Publishers

10. Norhaidawati Haji Mohamad Yassin. (2001). Kampong Ayer Sebagai Sebuah Destinasi Pelancongan: Cabaran Dan Masa Depan Akademi Pengajia. Brunei: Universiti Brunei Darussalam.

11. Srisantisuk, S. (2009). Study of Social and Culture: Concept Methodology and Theory. Koan Kan: Koankan University. (in Thai)

12. Tepsing, P. &, Boonprakarn, K. (2016). Local Wisdoms in Thailand-Malaysia border culture: A case study of Lohjood community, Narathiwat province. Journal of Yala Rajabhat University, 11(1), 19-38. (in Thai)

13. Pongsapich, A. (2006). Cultural Diversity. (5 ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

14. The Editors of Encyclopedia Britannica.(2017). William Fielding Ogburn: American Sociology [Online]. Retrieved may 11, 2017, from: https://www.britannica.com/biography/William-Fielding-Ogburn.

15. The History of Brunei. (2016) Toward defining the Architecture of Brunei [Online]. Retrieved June 3, 2016, from: http://puja-brunei.org/pdf2014/ad/AD%20seminar%20Topic%201.pdf.

16. Qaradavi, Y. (2004). Halal Haram fil Islam. Translate by Banjong Binkason. (5 ed.). Bangkok: The Islamic Book Center. (in Thai)

บุคลานุกรม
Ami Tamah (ผู้ให้สัมภาษณ์). อุสมัน มูดอ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตำบลเปอรามู เมืองบันดาเสรีเบกาวัน เขตบรูไน มัวรา. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2558.
Andrew (ผู้ให้สัมภาษณ์). อุสมัน มูดอ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตำบลเปอรามู เมืองบันดาเสรีเบกาวัน เขตบรูไน มัวรา. เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559.
Bolariffin (ผู้ให้สัมภาษณ์). อุสมัน มูดอ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตำบลตามอย เมืองบันดาเสรีเบกาวัน เขตบรูไน มัวรา. เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2559.
Pengiran Haji Ayub bin Bengiran. (ผู้ให้สัมภาษณ์). อุสมัน มูดอ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตำบลซาบาห์ เมืองบันดาเสรีเบกาวัน เขตบรูไน มัวรา. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2558.
Piah Ongsang (ผู้ให้สัมภาษณ์). อุสมัน มูดอ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ตำบลซาบาห์ เมืองบันดาเสรีเบกาวัน เขตบรูไน มัวรา. เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2559.