บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการสร้างขวัญกำลังใจของครูท่ามกลางเหตุการณ์ความไม่สงบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการสร้างขวัญกำลังใจของครูท่ามกลางเหตุการณ์ความไม่สงบ 2) เพื่อศึกษาขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูท่ามกลางเหตุการณ์ความไม่สงบ ตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดยะลา 3) เพื่อเปรียบเทียบบทบาท และขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูจำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู และ 5) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะของบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นครู จำนวน 363 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ตอน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (F–test) เมื่อพบว่า มีความแตกต่างกันจึงทดสอบโดยวิธีการของเชฟเฟ่ และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า 1) ระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับบทบาทและขวัญกำลังใจของครู จำแนกตามตัวแปรเพศ วุฒิการศึกษา อายุ ขนาดของสถานศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน ภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับขวัญกำลังใจของครู โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง 5) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารควรมีการนิเทศการสอน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการมีวิสัยทัศน์ในการทำงาน
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2. Bonpirom, S. (2009). Principles of educational administration. Bangkok: Book point. (in Thai)
3. Chanjeem, K. (2013). Industrial and organizational psychology. Bangkok: Odeon Store. (in Thai)
4. Khemkrai, P. (2017). A Development of Trust Indicators on Directors of Primary Schools under the Office of the Basic Education Commission in the North-eastern Region of Thailand. Journal of Yala Rajabhat University, 12(2), 169-170. (in Thai)
5. Kanpon, P. (2007). Appropriate Legal Measures for the Prevention of Discrimination Against Women: A Case Study of the Protection of Women's Rights Under Thai Law in Comformity to the Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Womn. Master’ Thesis. Ramkhamhaeng University. (in Thai)
6. Khanjang, M. (2014). Morale and Encouragement in the Performance of Teachers under the Unrest Situations in NongChik District under Jurisdiction of the Office of Primary Education in Pattani Area1. Master’ Thesis. Yala Rajabhat University. (in Thai)
7. Laoiam, W, (2009). A Study of the Influences of School Administrators’ Perceived Roles on the Morale of the performance of the Teachers in Schools under Phranakhon Si Ayutthaya Municipality. Master’ Thesis. Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. (in Thai)
8. Maskoto, R. (2008). Morale in Job Performance of School Administrators in the Yala Educational Service Area 2. Master’ Thesis. Prince of Songkla University. (in Thai)
9. Mongkolvanit, J. (2013). Administration of educational organization and personal. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
10. Tongkaew, T. (1999). Leadership in education. Chanthaburi: Faculty of Education Rambhai Barni Rajabhat institution. (in Thai)
11. Viratnipawan, V. (2008). Management administration of state agencies. Ratthaphirak Journal, 50(3), 11. (in Thai)