แบบแผนในการขับเคลื่อนกิจกรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้

Main Article Content

ยุทธนา กาเด็ม

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผน (Model) ของกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ กรณีศึกษาชุมชนบ้านสาคร ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบมีส่วนร่วม โดยการสนทนากลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 44 คน พื้นที่ศึกษา คือ หมู่ที่ 2 บ้านสาคร ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมเชิงพื้นที่ 2) การทำงานร่วมกันของผู้นำสี่เสาหลัก 3) สร้างกิจกรรมให้เกิดพลวัตการพัฒนาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ 4) วางแผนและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรม 5) ชุมชน/มัสยิด/โรงเรียน แสดงบทบาทเป็นพื้นที่ปฏิบัติการเรียนรู้และเป็นศูนย์รวมในการดำเนินกิจกรรม 6) ชุมชนเปิดพื้นที่ปฏิบัติการให้เป็นแหล่งเรียนรู้ 7) ขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนตามแผนงานที่ได้กำหนด 8) ถ่ายทอดองค์ความรู้ของชุมชนโดยใช้ศักยภาพของปราชญ์ชาวบ้าน/แกนนำชุมชน/เยาวชนต้นแบบ และ 9) ประเมินผลและสะท้อนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bedri, Z, de Frein, R. & Dowling, G. (2017). Community-based learning: A primer. Irish Journal of Academic Practice, 6(1), 65-76.

Brennan, M. A., Birdger, J., & Alter, T. R. (2013). Theory practice and community development. New York: Routledge.

Chitniratna, N. (2011). Development for community security in the Southernmost Provinces. Parichart

Journal, Thaksin University, 2(17), 11-30. (in Thai).

Governor's Office. (2019). Information [Online]. Retrieved December 15, 2019, from: http://www2.satun.go.th/content/general. (in Thai)

Mandech, C., Putsukee, T., Thongfhua, S. & Langputeh, S. (2019). Model of Masjids in mobolition of

tagwa communities. Journal of Yala Rajabhat University, 14(2), 222-231. (in Thai).

Masae, A. (2012). ChumchonSattha: A Religion and local culture-based social development approach in Southern-Border Provinces. Inthaninthaksin Journal, Thaksin University, 6(2), 35-66. (in Thai).

Melaville, A, Berg, A. C. & Blank M. J. (2015). Community-based learning: Engaging students for success and citizenship. Partnerships/Community. [Online]. Retrieved December 6, 2019, from: http://digitalcommons.unomaha.edu/slcepartnerships/40.

Muangyai, A. (2016). Development approach to enhancing the potential of community and local in the twenty-first century. EAU Heritage Journal Social Science and Humanities, 6(3), 12-26. (in Thai)

Pimoljinda, T. (2013). A Lesson-learnt from the failure of co-management for sustainable development in Panthong District, Chonburi Province. Journal of Education and Social Development, 9(2), 22-32.

Sapauppatam, N. (2015). Theory and Principle of Community Development. Chanthaburi: Rambhai Barni Rajabhat University. (in Thai)

Soodkeeree, J. (2015). Sustainable Community Development Model. Journal of Southern Technology, 8(2), 9-16.

The Fifth Operation Center Internal Security Operations Command. (2019). ChumchonSattha [Online]. Retrieved December 6, 2019, from: http://www.io-pr.org/300461-2. (in Thai)