ความพร้อมและศักยภาพทรัพยากรที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลลิดล อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ชุมชนตำบลลิดลควรพิจารณาเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับชุมชน จึงทำการวิจัยเพื่อวิเคราะห์บริบทของชุมชน ประเมินศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และแนวทางการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน และแบบสอบถามคนในพื้นที่ตำบลลิดลกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ด้วยสถิติการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ตำบลลิดลโดนเด่นด้วยทะเลหมอกบนยอดเขาโต๊ะสาเฮะห์ ชุมชนให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย และส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์จุดแข็งของชุมชน คือ พื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร ส่วนจุดอ่อนของชุมชน คือ ป้ายบอกทางและป้ายสื่อความหมายไม่มีมาตรฐาน โอกาสของชุมชน คือ รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ชัดเจน อุปสรรคของชุมชน คือ การสนับสนุนจากรัฐบาลมีข้อจำกัดมาก สำหรับศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ มีความโดดเด่นด้านวิถีชีวิต ภาพรวมระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.95 (S.D.=0.679) และความพร้อมของชุมชนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว มีความพร้อมด้านแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งดึงดูดใจ ภาพรวมระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.99 (S.D=0.705) ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาและยกระดับกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ช่วยเสริมสร้างความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมของชุมชนก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Ministry of Tourism and Sports. (2018). Press conference: Tourism situation [Online]. Retrieved November 12, 2018, from: https://www.mots.go.th/ Press conference. (in Thai)
Ministry of Tourism and Sports. (2018). Domestic tourism statistics 2017 (Classify by region and province) [Online]. Retrieved November 12, 2018, from: https://www.mots.go.th/ Domestic Tourism Statistics. (in Thai)
Chaiyachen, J., Unaromlert, T. & Paiwithayasiritham, C. (2017). The application of social capital development model to promote creative tourism industry of Klong Roi Sai. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(2), 2039-2055. (in Thai)
Rungmuang, T. (2015). The model development of creative tourism in order to enhance the network of tourism activities of DVARAVATI four provinces. Romphruek Journal Krirk University, 33(1), 137-160. (in Thai)
National Statistical Office. (2014). Development plan for statistics of Yala Province. Bangkok: National Statistical Office. (in Thai)
Wisudthiluck, S., Saiphan, P., Teparakul, O & Sindecharuk, T. (2013). Creative tourism. Bangkok: Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization). (in Thai)
Suansri, P. (2017). Community based tourism. Tourism Economic Review, No. 7(January - March 2017), 54-67. (in Thai)
Paaktai Chaidaen. (2020). Long tai chaidaen [Online]. Retrieved June 3, 2020, from: https://www.paaktai.com/longtai. (in Thai)
Teeranon, S. & Sophonjarasgool, P. (2016). Creative tourism: Choice survival of tourism in Thailand. Pathumthani University Academic Journal, 8(2), 216-225. (in Thai)
Thailand Community Based Tourism Network Coordination Center. (2012). Community based tourism: Benefits that the community receives [Online]. Retrieved July 17,2019, from: https://thaicommunitybasedtourismnetwork.wordpress.com/CBT Benefits. (in Thai)
Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization). (2015). Creative tourism (1rt Ed). Bangkok: Cocoon & Co Company Limited. (in Thai)
Tambon Administration Organization, Lidol. (2018). Development plan for Four-year local (2018 - 2021). Yala: Tambon Administration Organization, Lidol. (in Thai)
Boonyatidthan, E. (2010). Professional SWOT analysis handbook. Bangkok: Panyachon Publisher. (in Thai)