ผลการฝึกประสาทสัมผัสรับความรู้สึกที่มีต่อการปรับตัวทางจิตวิทยาและการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีความเสี่ยงสูงในด้านต่าง ๆ ของชีวิต โดยเฉพาะด้านการเรียนและด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้วัยรุ่นเข้าใจตนเองและผู้อื่นด้วยการฝึกประสาทสัมผัสรับความรู้สึก จึงทำการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสาทสัมผัสรับความรู้สึก การปรับตัวทางจิตวิทยาและการปรับตัวทางสังคมของนักเรียน และ (2) ศึกษาผลของการฝึกประสาทสัมผัสรับความรู้สึกที่มีต่อการปรับตัวทางจิตวิทยาและการปรับตัวทางสังคมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาความสัมพันธ์คือ นักเรียน จำนวน 1,191 คน กลุ่มตัวอย่าง ในการทดลองคือ นักเรียนกลุ่มทดลอง 41 คน และกลุ่มควบคุม 41 คน วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ทั้ง 3 ตัวแปร มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยประสาทสัมผัสรับความรู้สึก พฤติกรรมการเห็นคุณค่าในตนเองทางวิชาการ และการปรับตัวทางสังคมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยประสาทสัมผัสรับความรู้สึก การปรับตัวทางจิตวิทยาด้านการเห็นคุณค่าในตนเองทางวิชาการ และการปรับตัวทางสังคมภายหลังการทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นจึงเป็นข้อพิจารณาในด้านการเผยแพร่และต่อยอดด้วยการพัฒนาชุดฝึกประสาทสัมผัสรับความรู้สึก โดยนำมาจัดอบรมให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน เพื่อช่วยให้บุคลากรที่อยู่ใกล้ชิดเข้าใจนักเรียนมากยิ่งขึ้น
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Aeam-supasit, S. (2019). Theories and techniques in behavior modification (9th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.
Elmasry, F. (2015). Understanding the teen brain key for better parenting [Online]. Retrieved January 10, 2020, from: https://www. https://www.voanews.com/silicon-valley-technology/understanding-teen-brain-key-better-parenting.
Evans, C. R. & Dion, K. L. (2012). Group cohesion and performance: A meta-analysis. Small Group Research, 43(6), 690–701.
Feldman, R. S. (2010). Psychology and your life. New York: McGraw-Hill.
Inthuyod, N. (2013). General Psychology. Bangkok: Chulalongkorn University.
Korn-raluk, S. (2018). Self-development using sensitivity training. Training document for self-development by using sensitivity training. Chiang Mai: Counseling and Guidance Association. [in Thai]
Lohman, K., Zenger, J. H., & Weschler, I. R. (2015). Some perceptual changes during sensitivity training. The Journal of Educational Research, 53(1), 28-31.
Mikami, A. Y., Szwedo, D. E., & Allen, J. P. (2010). Adolescent peer relationships and behavior problems predict young adults’ communication on social networking websites. Developmental Psychology, 46, 46–56.
Minev, M., Petrova, B., Mineva, K., Petkova, M. & Strebkova, R. (2018). Self-esteem in adolescents. Trakia Journal of Sciences, 2, 114-118.
Nistane, M. M. (2017). Sensitivity training – an Introduction to concept. International Journal of Engineering and Management Research, 7(3), 798-795.
Nolen-Hoeksema, S., Fredrickson, B. L., Loftus, G. R. & Lutz, C. (2014). Atkinson & Hilgards introduction to psychology (16th ed.). UK: Cenage Learning.
Ortuño, J., Fonseca-Pedrero, E., Paino, M., & Aritio-Solana, R. (2014). Prevalencia de síntomas emocionales y comportamentales en adolescentes españoles [The prevalence of emotional and behavioural symptoms in Spanish adolescents]. Revista de Psychiatría y Salud Mental, 7, 121-130.
Potter, S. (2019). A social history of the T-Group [Online]. Retrieved August 14, 2019 from: http://www.psicopolis.com/Kurt/tgroupstory.htm#[1].
Puansuri, W. (2016). The effects of sensitivity training on emotional intelligence of generation Y students psychology major Naresuan University. Journal of Liberal Arts Maejo University, 4(2), 41 - 51.
Rania, N., Rebora, S. & Migliorini, L. (2015). Team-based learning: Enhancing academic performance of psychology students. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 175, 946-951.
Sheykhjan, T. M., Jabari, K. & Rajeswari, K. (2014). Self-esteem and academic achievement of high school students. Cognitive Discourses International Multidisciplinary Journal, 2(2), 38-41.
UNICEF Thailand. (2016). Teenager development and participation [Online]. Retrieve June 20, 2019, from: https://www.unicef.org/thailand/th/Unicefmission/adolescentdevelopment.