การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรมในรายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยหาดใหญ่

Main Article Content

ชุติมา ทัศโร
ปริญญา ทองสอน
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรม ในรายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 60 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรม แบบประเมินคุณลักษณะความสมานฉันท์  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย  5 องค์ประกอบคือ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการเรียนการสอน เนื้อหาสาระการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล  ผลการประเมินรูปแบบอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรมพบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองมีคุณลักษณะความสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรมอยู่ในระดับดี  และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติ  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Arend, R.I. (1994). Learning to Teach. (3 ed.). Singapore: McGraw – Hill Books.

2. Bruner, J. (1963). Going beyond the information given. New York: Norton.

3. Duffy, T. M. (1996). Constructivism: Implication for the design and delivery of instruction. In Handbook of research for educational communications and technology. New York: Simon & Schuster Macmillan.

4. Dick, W., Carey, L. & Carey, J. O. (2001). The systematic design of instruction. (5 ed.). New York: Pearson Education.

5. Johnson, D. W. & Johnson, R. T. (1987). Cooperation and Competition: Theory and Research. Edina, MN: Interaction Book.

6. Joyce, B., Weil, M. & Calhoun, E. (2004). Model of Teaching. (7 ed.). Boston: Allyn and Bacon.

7. Palasai, C. (2009). Development of a quality Higher Education system in the Three Southern Border Provinces of Thailand: utilizing Princess of Naradhiwas University’s Development Strategies. Journal of Princess of Naradhiwas University. 1(1), 1-20. (in Thai)

8. Pranee, C. (2009). Research Report Learning Management Model to Enhance Reconciliation of Thai youth: Nakhon Sawan: Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University Nakhon Sawan: Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University.

9. Pengjan, S. (2017). Project Design Learning to Learners’ Participations. Journal of Yala Rajabhat University, 12(2), 47-59. (in Thai)

10. Rascha, T. (2013). A Model of Developing Reconciliation Thinking for the Student Teachers at Prince of Songkla University. Doctor of Philosophy Thesis in Curriculum and Instruction, Graduate School, Khon Kaen University.

11. Southern Border Provinces Administration Centre. (2007). Strategic Understanding, Developmental Access. Yala: Southern Border Provinces Administration Centre, Yala.

12. Yongyuan, B. (2010). Research Report Multicultural education management model National Institute for Child and Family Development, Mahidol University Bangkok: National Culture Commission, Ministry of Culture. (in Thai)

13. Puttawattana, P. (2007). The role of education for sustainable development in Southern Border Provinces. Journal of Foculty of Education, Prince of Songkla University Pattani, 18(2). 113-136. (in Thai).