ผลการใช้สื่อดิจิทัลเทคโนโลยีความจริงเสริมสร้างแผนที่เส้นทางการท่องเที่ยว แหล่งอารยธรรมขอมในสี่จังหวัดอีสานใต้ : นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ

Main Article Content

วราลักษณ์ มาประสม
นวัฒกร โพธิสาร
จักรกฤช ใจรัศมี
วิจิตรา โพธิสาร
อนุชาวดี ไชยทองศรี
ปฏิวัติ ยะสะกะ
วีรยา มีสวัสดิกุล
จันทร์ดารา สุขสาม
สมพงษ์ วะทันติ

บทคัดย่อ

แหล่งท่องเที่ยวที่ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีจะทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาไม่ต่อเนื่อง จึงทำการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อดิจิทัลเทคโนโลยีความจริงเสริมสร้างแผนที่เส้นทางการท่องเที่ยวแหล่งอารยธรรมขอมในสี่จังหวัดอีสานใต้ : นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ และเพื่อศึกษาผลการใช้สื่อดิจิทัลเทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในสี่จังหวัดอีสานใต้ จำนวน 400  คน จากการเลือกแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามความต้องการ สื่อดิจิทัลเทคโนโลยีความจริงเสริม แบบสอบถามวัดประสิทธิภาพ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบสัมภาษณ์การรับรู้ที่ผ่านการประเมินคุณภาพแล้วเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า ผลการพัฒนาสื่อดิจิทัลประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์แผ่นพับ สื่อวิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว 360 องศา การเชื่อมต่อเทคโนโลยีความจริงเสริม และการปฏิสัมพันธ์ เนื้อหาเป็นข้อมูลสถานที่และแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ ส่วนผลการใช้สื่อดิจิทัล พบว่า ความพึงพอใจต่อสื่อดิจิทัลภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.59 จากคะแนนเต็ม 5 และจากการศึกษายังพบว่า สื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่ดีสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ตัดสินใจมาท่องเที่ยวได้ควรมีการนำเสนอที่ดีและน่าสนใจ ทั้งข้อความ ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวมุมสูง 360 องศา กราฟิก วิดีทัศน์ และเสียง โดยสื่อสิ่งพิมพ์แผ่นพับควรออกแบบให้สวยงาม สามารถสแกน AR ได้ง่าย และเข้าถึงแอปพลิเคชันอย่างรวดเร็ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonruam, S. & Phonak, D. (2015). Using augmented reality as media learning through cloud computing. NRRU Community Research Journal, 9(2), 38-44. (in Thai).

Charoenroop, N. (2017). Applications of augmented reality to present tourist information: A case study of Phrakaew Temple, Chiangrai Province, Thailand. Journal of Modern Management Science, 10(1), 13-30. (in Thai).

Jairassamee, J. & Weeranakin, N. (2016). The human computer interaction theory application with augmented reality for the development of part-time reading book on a content of “Roi Chang Tang Kon”. Journal of Graduate School, Surindra Rajabhat University, 10(2), 65-73. (in Thai).

Kanchanawong, P. & Siri, R. (2018). Behavior analysis of information and communication technology usage of chinese tourists in Chiang Mai, Thailand. Journal of Yala Rajabhat University, 13(1), 101-113. (in Thai).

Kulpornphan, T. (2015). Location-based online tourism information system with 360-degree video: A case of Wat Sri Chum Historic Site, Sukhothai. Master of Architecture. Thammasat University.

Lin, P., You, B. & Lu, X. (2017). Video Exhibition with adjustable augmented reality system based on temporal psycho-visual modulation. J Image Video Proc, 7 (2017), 1 - 11.

Ministry of Tourism and Sports. (2017). Thailand Tourism Strategy 2015 - 2017 [Online]. Retrieved May 5, 2017, from: https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114. (in Thai).

Ministry of Tourism and Sports. (2018). Domestic tourism statistics year 2014 (Classify by region and province) [Online]. Retrieved July 20, 2018, from: https://www.mots.go.th/old/more_news.php? cid=488&filename=index. (in Thai).

Noosut, K. & Duangsaeng, V. (2019). Development of community-based tourism based on the grassroots economy concept. Local Administration Journal, 12(3), 481 - 496.

Ponsayom, N. & Sutatham, S. (2016). Development of learning media entitled hardware using augmented reality technology. Journal of Information Technology Management and Innovation, 3(2), 32–37. (in Thai).

Sriprarmai, A. & Limpinon, P. (2017). The development of augmented reality to promote tourism Mahathat Sukhothai Temple [Online]. Retrieved October 22, 2018, from: https://www.researchgate.net/publication/320908187_karphathnathekh. (in Thai).

Tansiri, P. (2011). Augmented reality [Online]. Retrieved May 5, 2017, from: https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/30_2/pdf/aw28.pdf. (in Thai).

Tourism Authority of Thailand. (2518). TAT 2018 Annual Report [Online]. Retrieved May 15, 2020, from: https://api.tat.or.th/upload/annual_report/live/TAT%202018%20Annual%20Report.pdf.

Wantong, C., Chalothorn, S. & Vichiansinpa, J. (2015). Management of tourist attractions in Buriram Province with geoinformation technology. Rommayasan, 13(1), 175-189. (in Thai).