การพัฒนาคู่มือเลี้ยงนกเขาชวาเบื้องต้นอย่างมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมกิจกรรม สำหรับผู้สูงวัยในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเลี้ยงนกเขาชวาเป็นอาชีพหนึ่งที่ก่อให้เกิดรายได้และควบคู่กับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงวิจัยพัฒนาคู่มือการเลี้ยงนกเขาชวาเบื้องต้นสำหรับผู้สูงวัยอย่างมีส่วนร่วม และศึกษาผลการใช้คู่มือการเลี้ยงนกเขาชวาเบื้องต้นของผู้สูงวัย ในเขตเทศบาลนครยะลา โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้รู้ด้านการเลี้ยงนกเขาชวา จำนวน 10 คนใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือการรวบรวมข้อมูล ส่วนการศึกษาผลการใช้คู่มือการเลี้ยงนกเขาชวา เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจต่อคู่มือการเลี้ยงนกเขาชวาจากผู้สูงวัยในเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 364 คน และศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มผู้สูงอายุที่เลี้ยงนกเขาชวา ผลการศึกษาพบว่า คู่มือการเลี้ยงนกเขาชวานั้นประกอบด้วย ความเป็นมา รูปแบบการเลี้ยง วิธีการผสมพันธุ์ การฟักไข่ ช่วงนกเขาชวาแรกเกิด การเลี้ยงในระยะเริ่มแรก การดูแลนกเขาชวา โรคนกเขาชวา นอกจากนี้ การศึกษาผลการใช้คู่มือพบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 3.85, S.D.=0.70) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนนำของคู่มือมีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 3.64, S.D.=0.78) ด้านเนื้อหา มีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 3.75, S.D.=0.55) การใช้ภาษามีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 3.78, S.D.=0.72) และการออกแบบและจัดรูปแบบของคู่มือ มีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 3.69, S.D.=0.66) นอกจากนี้ควรเพิ่มการแยกแยะเสียง การคัดเพศ การให้อาหาร และความรู้เรื่องโรคอย่างละเอียดเพิ่มมากขึ้น และมีข้อเสนอแนะ รัฐควรมีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงให้เป็นรูปธรรม โดยกำหนดในแผนงานพัฒนาพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Division of Mental Health Development. (2013). Mentally Social Care Guidelines for The Elderly to Prevent Mental Health Problems. Bangkok: Department of Mental Health.
Division of Welfare and Society, Yala City Municipality. (2019). Numbers of Elderly in Yala City Municipality. Yala City Municipalit.
Julawonno, N. (2010). The Development of Handbook of Food Consumption for Dyslipidemia Control in HIV/AIDS-Infected Patients with Antiretroviral Medications. Master Thesis in Nursing Science (Community Health Nurse Practitioner), Faculty of Nursing Science, Prince of Sonkla University.
Rungrat, S. (2015). The Study of the Guidelines to Zebra Dove Marketing Strategy: A case Study in Three Southern Border Provinces. Research report of Yala Rajabhat university. (in Thai)
Rungrat, S. (2018). Javanese Dove: Social Value and Economic. Songkla: Neopoint (1995) limited. (in Thai)
Sukpaen, N. & Sungkharat. (2018). Community Empowerment and Management of Khlong Chamrai, Khok Muang Sub-district, Khlong Hoi Khong District, Songkhla Province. Journal of Yala Rajabhat University, 12(2), 61-75.
The Government Public Relations Department. (2019). “Start Now” the 34th ASEAN Zebra Dove, Yala, Thailand [online]. Retrieved December 23, 2019, from: http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG190302100316391.html. (in Thai).
Tohman, W. (2011). Developing a Manual of Nutritional Management for Muslim Toddlers with Malnutrition. Master’s Thesis. (Community Health Nurse Practitioner), Prince of Sonkla University. (in Thai)
Vanichbancha, K. (2010). Principles of Statistics (12nd Ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).
Yala city municipality. (2018). The 33th ASEAN Barred Ground Dove Competition Festival [online]. Retrieved March 3, 2020, from: http://yalacity.go.th/news/detail/763. (in Thai).
บุคลานุกรม
อุปนายกสมาคมนกเขาชวาแห่งภาคใต้ (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุพัตรา รุ่งรัตน์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ เทศบาลตำบลจะนะ 1 หมู่ที่ 2 ถนนหาดใหญ่ - ปัตตานี ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 90130. เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2563.
อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุพัตรา รุ่งรัตน์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 133 ถนนเทศบาล 3 ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000. เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563.