ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพหุระดับของประสิทธิผลองค์การสำหรับมหาวิทยาลัย ในประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1)พัฒนาโมเดลการวัดประสิทธิผลองค์การสำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา และ 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การภาครัฐที่เป็นมหาวิทยาลัยในระดับบุคคล และระดับสาขาวิชาในประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา จำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต/นักศึกษาได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามประสิทธิผลองค์การ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1) โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับประสิทธิผลภาครัฐที่เป็นมหาวิทยาลัยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 2) โมเดลประสิทธิผลองค์การตามการรับรู้ของนักศึกษาในระดับบุคคลและระดับสาขาวิชาตัวแปรทุกตัวมีความสำคัญอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน สำหรับระดับบุคคลตัวแปรที่มีความสำคัญมากที่สุดคือการพัฒนาบุคลิกภาพนิสิต/นักศึกษา ในขณะที่ตัวแปรระดับสาขาวิชาที่มีความสำคัญมากที่สุดคือความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร อย่างไรก็ตามสุขภาพขององค์การมีความสำคัญน้อยที่สุดทั้งระดับบุคคลและระดับสาขาวิชา
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2. Cameron, K.S. (1986). A study of organizational effectiveness and its predictors. Management Science, 32(1), 87-112.
3. Gibson, J. L., Ivancevich, J. M. & Donnelly, J. H. (2000). Organizations: behavior, structure, processes. (10th ed.). Boston: McGraw-Hill.
4. Goodman, P. S. & Pennings, J. M. (1980). Critical issues in assessing organizational effectiveness. In Lanler, E. E., & Seashore, S. E. (eds.). Organizational assessment perspective on the measurement of organizational behavior and the quality of work life. New York: John Wiley & Son.
5. Harrison, M. I. (1994). Diagnosing organizations methods, models and process. London: Sage Publications.
6. Katz, D. & Kahn, R. L. (1978). The social psychology of organizations. (2nded.). New York: John Wiley & Son.
7. Kao-ian, J. (2018). The development of model for administrative good governance of administrators in islamic private schools in multicultural society. Journal of Yala Rajabhat University, 13(1), 27-40. (in Thai)
8. Makmee, P. (2016). Multilevel structural equation model of universities effectiveness in Thailand. ASEAN Journal of Management & Innovation, 3(1), 43 -53.
9. Muthén, L. K. & Muthén, B. O. (2012). Mplus: The comprehensive modeling program for applied researchers user’s guide, Version 7.00. Los Angeles, CA: Muthén & Muthén.
10. Price, J. L. & Mueller, C. W. (1986). Handbook of organizational measurement. Massachusetts: Pitman.
11. Steers, R. M. (1977). The organizational effectiveness: a behavioral view. Santa Monica: Goodyear Publishing.