รูปแบบการดำเนินชีวิตและความต้องการบริการดูแลอำนวยความสะดวกของคนวัยชราในเขตชุมชนเมืองกลุ่มจังหวัดเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ

Main Article Content

อำนวย ปาอ้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิต ศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการบริการและการดูแลอำนวยความสะดวกของคนวัยชราในเขตชุมชนเมืองกลุ่มจังหวัดเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ คนวัยชราที่พักอาศัยในชุมชนเมืองในกลุ่มจังหวัดเบญจาบูรพาสุวรรณภูมิจำนวน 390 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ตอน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า คนวัยชราส่วนใหญ่ใช้ชีวิตประจำวันอยู่กับบ้าน บุคคลที่ดูแลเป็นลูกหลาน มีเงินออมไม่เกิน 50,000 บาท มีรายจ่ายหลักเป็นค่าอาหารและรายจ่ายที่จำเป็น ซื้อสินค้าจากร้านโชว์ห่วยใกล้บ้าน มีความต้องการบริการการรักษาพยาบาล มากที่สุด มีลักษณะการใช้ชีวิตแบบธรรมดา ลูกเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อการเป็นอยู่ และรับข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์ คนวัยชรา มีความต้องการบริการดูแลอำนวยความสะดวกโดยภาพรวม และด้านบริการรักษาพยาบาลอยู่ในระดับมาก คนวัยชราที่มี            เพศสภาพสมรส และอาชีพเดิมแตกต่างกัน มีความต้องการการบริการดูแลอำนวยความสะดวกไม่แตกต่างกัน แต่คนวัยชราที่มีอายุ การศึกษา และรายได้แตกต่างกัน มีความต้องการการบริการดูแลอำนวยความสะดวกแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Boonchaluksi, V. & Worasiriamorn, Y. (2018). Private sector with health care services and elderly care. (Online). Retrieved 21, 2018, from: http://www.kb.hsri.or.th/dspace/handle. (in Thai)

2. Boukeaw, P. & Teungfung, R. (2016). Health care and health status of Thai aging. Journal of Association of Researchers, 21(2), 94-105. (in Thai)

3. Naresuan University. (2016). Attitudes towards the elderly [Online]. Retrieved December 12, 2016, from: http://www.office.nu.ac.th. (in Thai)

4. National Statistical Office. (2016). The 2014 survey of the older persons in Thailand. Bangkok: National Statistical Office. (in Thai)

5. Paijit, P. (2015). Quality of life of elderly in Surat Thani Province. Journal of Management Sciences, 2(2), 157-179. (in Thai)

6. Pongdee, J. & Kuhirunyaratn, P. (2015). Problems and health of the elderly in the area of responsibility of the Muang baeng Tambon Health Promotion Hospital, Nong yap hung Sub-district, Wang sap hung District, Loei Province. Journal of Community health Development, Khonkaen University, 3(4), 561-576. (in Thai)

7. Promtingkran, N., Wingwon, B. & Sungkawan, J. (2017). Multi- group of integrated marketing Communications service quality and Perceived Value and Satisfaction toward Customers Repurchasing Intention Elderly Care Business. In Thailand. Journal of Yala Rajabhat University, 12(1), 17-28. (in Thai)

8. Tapasee, W., Danpradid, P. & Rattanawijit, S. (2017). Health care service model for elderly by community participation, Wangtagoo Subdistrict, Nakhon Pathom Province. Kuakarun Journal of Nursing, 24(1), 42-53. (in Thai)

9. The Office of Strategy Management: Mid Central Provincial Cluster. (2016). The condition of the Mid Central Provincial Cluster [Online]. Retrieved December 19, 2017, from: http://www.osmcentral.moi.go.th. (in Thai)

10. Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Rows.