กลวิธีที่ใช้ในการแปลอุปมาและอุปลักษณ์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในพระราชนิพนธ์แปล เรื่อง เวนิสวานิช

Main Article Content

คาวี สุขสาลี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีที่ใช้ในการแปลอุปมาและอุปลักษณ์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในพระราชนิพนธ์แปลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อง เวนิสวานิช ซึ่งแปลจาก The Merchant of Venice ของวิลเลียม เชคสเปียร์ โดยคัดกรองอุปมาจำนวน 56 ตัวอย่างและอุปลักษณ์จำนวน 81 ตัวอย่างจากต้นฉบับและนำมาเปรียบเทียบกับฉบับแปล โดยใช้แนวคิดกลวิธีการแปลอุปมาที่เสนอโดย Pierini (2007) และกลวิธีการแปลอุปลักษณ์ที่เสนอโดย Newmark (1981) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยระบุประเภทของกลวิธีที่ใช้แปลอุปมาและอุปลักษณ์แต่ละตัวอย่าง แล้วจึงนับค่าความถี่ของการใช้กลวิธีแต่ละกลวิธี จากผลการวิจัยพบว่า กลวิธีที่ใช้มากที่สุดในการแปลอุปมาคือการแปลตรงตัว ส่วนกลวิธีที่ไม่มีการใช้เลยได้แก่ การแทนที่สิ่งที่นำมาเปรียบด้วยคำอธิบาย อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งกลวิธีที่พบในวิจัยชิ้นนี้นอกเหนือจากที่ Pierini (2007) เสนอไว้ นั่นคือ การแปลอุปมาด้วยอุปลักษณ์ สำหรับการแปลอุปลักษณ์พบว่าผู้แปลใช้กลวิธีทั้ง 7 กลวิธีที่ Newmark (1981) เสนอไว้ โดยกลวิธีที่ใช้มากที่สุดคือการแปลอุปลักษณ์ด้วยอุปมา งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจการแปลวรรณกรรม ตลอดจนนักวิชาการและนักวิจัยด้านการแปล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Dahayee, W. (2012). Poet Language: Science and Art of Efficient Communication. Journal of Yala Rajabhat University, 7(2), 163-170. (in Thai).

2. Goatly, A. (2011). The Language of Metaphor. Abingdon: New York: Routledge.

3. Hariyanto, S. (n.d.). Problems in Translating Poetry [Online]. Retrieved July 21, 2018, from: http://www.translationdirectory.com/article640.html.

4. Hornby, A. S. (Ed.) (2007). Oxford Advanced Learner’s Dctionary of Current English. Oxford: Oxford University Press.

5. Newmark, P. (1981). Approaches to translation. Oxford: Pergamon Press.

6. Newmark, P. (1988). A textbook of translation. New York: Prentice Hall.

7. Pierini, P. (2007). Simile in English: From Description to Translation. CÍRCULO de Lingüística Aplicada a la Comunicación (clac), 29, 21-43.

8. Shamsaeefard, M., Fumani, M. & Nemati, A. (2013). Strategies for Translation of Similes in Four Different Persian Translations of Hamlet. Linguistics and Literature Studies, 1(3), 164-168. doi:10.13189/lls.2013.010305.

9. Sripodoke, P. (2014). Analysis of Translated Similes from Thai to English: A Case Study of Phra Aphai Mani. Master's Thesis. Thammasat University. (in Thai).

10. Yanbo, L. (2011). Metaphor in Chinese Literary Translation: A Case Study of Fortress Besieged [Online]. Master's Thesis. University of Macau. Retrieved July 23, 2017, from: http://library.umac.mo/etheses/b25255290_ft.pdf.

11. Zohdi, M., & Saeedi, A. A. (2011). Translating Metaphor and Simile from Persian to English: A Case Study of Khayyam's Quatrains. Theory and Practice in Language Studies, 1(9), 1122-1138. doi:10.4304/tpls.1.9.1122-1138.