การพัฒนาบทเรียนภาษามลายูสำหรับนักเดินทางในบทเรียนออนไลน์ระบบเปิด Thai-MOOC วิชาภาษามลายูเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

Main Article Content

อาลียะห์ มะแซ
ซามียะห์ บาเละ
ไซนีย์ ตำภู

บทคัดย่อ

ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาในศตรวรรษที่ 21    นำไปสู่การสร้างรูปแบบการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นจึงวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนภาษามลายูสำหรับนักเดินทางในบทเรียนออนไลน์ระบบเปิด Thai-MOOC โดยวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และศึกษาผลการใช้บทเรียนภาษามลายูสำหรับนักเดินทางในบทเรียนออนไลน์ระบบเปิด Thai-MOOC กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษามลายูเพื่อการสื่อสาร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 171 คน โดยใช้การทดลองแบบกลุ่มเดียว สอบก่อนสอบหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS เพื่อหาค่าผลสัมฤทธิ์การใช้บทเรียน ด้วยสถิติการหาค่าเฉลี่ยและ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาภาษามลายูโดยรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x} =4.29) ด้านเทคนิคการผลิตสื่อโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x} = 5.00) และบทเรียนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.06/80.53 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยอธิบายได้ว่าบทเรียนภาษามลายูสำหรับนักเดินทางในบทเรียนออนไลน์ระบบเปิด Thai-MOOC สามารถเป็นสื่อเสริมในการเรียนการสอน ภาษามลายูในระดับพื้นฐานได้ แสดงให้เห็นว่าการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ระบบเปิด Thai-MOOC สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนและมีความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคดิจิทัลเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Asanok, M. (1018). Development, efficiency and effectiveness of innovation for self-learning model, Journal of Education Technology and Communications, Faculty of Education Mahasarakham University, 1(2), 9-18. (in Thai)

Butdeehat, K., Phansaensao, F., & Sopa, M. (2019). Computer assisted instruction based on brain-based learning theory on topic: types of words in Thai language for prathom suksa 5 students Ban Nong Kham School (Khai Seni Uppatham), Journal of Innovative Learning, 5(2), 41-54. (in Thai)

Brahmawong, C. (2013). Development testing of media and instructional package. Silpakorn Education Research Journal, 5 (1) 7-19. (in Thai)

Chitboonyapini, Ch., & Praneetaphonkran, P. (2016). Effects learning and education achievement in the development of teaching and learning using elearning in information teachnology course for students in mathayomsusa1. The 11nd National and international academic conferences Sripatum University, Desember 21, 2016. Bangkok: Sripatum University. (in Thai)

Kalasing, P., Nanthapichai, S., Saivaree, K., & Ditthakit, P. (2018). Educational media service and teaching on MOOC: Experience of the library and educational media center, Walailak University. Pulinet Journal, 5 (2), 47-54. (in Thai)

Khanram, K. (2018). Effectiveness on used of video media in CHM 132: General chemistry laboratory on gas. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 12(1), 107-118. (in Thai)

Laohacharatsang, T. (1999). Computer-assisted teaching. 4th edition, Bangkok: SP Printing. (in Thai)

Pungchompoo, P., Suwankhruhasn, N., & Saengrat B. (2017). Development of innovative nursing education: open-line teaching for the public in elderly nursing, Nursing Journal, 44 (2), 103-110. (in Thai)

Putthapitakphol, S., ChanKhong, W., Manachevikul, S., & Phensirinapa, N. (2018). Development of online lessons on the health insurance system for health workers in Thailand, Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 29 (1), 2-15. (in Thai)

Prasansoi, W. (2000). Computer-assisted instruction: Innovation for education. Bangkok: VJ Printing. (in Thai)

Sri-Saad, B. (2017). Preliminary research. 10th edition, Bangkok: Suwi Riyasan. (in Thai)

Tinnawas, N. & Thammetar, Th. (2016). The study of massive open online course model for Thai higher education, Veridian E-Journal, 9(3), 1463-1479. (in Thai)

TCU. (2017). Background of the Thai-MOOC [Online]. Retrieved October 5, 2019, from: http://mooc.thaicyberu.go.th/. (in Thai)