การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
ครูปฐมวัยมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กในศตวรรษที่ 21 จากการพัฒนาครูที่ผ่านมาเกิดประโยชน์น้อยและสิ้นเปลืองงบประมาณ การใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพให้ครูได้รับการพัฒนาในบริบทพื้นที่โดยตรงจะเกิดประโยชน์มากกว่าและครูไม่ต้องออกจากห้องเรียน จึงมีการวิจัยและพัฒนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนารูปแบบและเพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบจากกลุ่มตัวอย่างครูปฐมวัยเครือข่ายสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสงขลา โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการหาค่าดัชนีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการพรรณนาความเรียง ผลการวิจัยพบว่าครูปฐมวัยมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมากที่สุด โดยรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยการกำหนดทิศทางของรูปแบบ กระบวนการพัฒนาที่เรียกว่า“PILOTS Model” เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ และการประเมินผลที่เกิดขึ้น จากการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า ครูปฐมวัยมีสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยมีผลการปฏิบัติงานตามรูปแบบที่กำหนดและความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางให้หน่วยงานที่นำกระบวนการของรูปแบบไปใช้ได้คำนึงถึงเงื่อนไขการนำไปใช้ให้เหมาะสม และสถานศึกษาควรสนับสนุนให้มีคำชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญ ครูร่วมพัฒนาและการได้รับการปรึกษาจากผู้บริหารอย่างเป็นกัลยาณมิตร
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Chuensuksomwang, N. & Theeranurak, J. P. (2014). A Need assesment to develop early childhood teacher,s’ professional competency. An Online Journal of Education, 9(1), 713-729. (in Thai)
Dahsah, C., Lamainil, S., Promkatkaew, T. & Seetee, N. (2019). Development of kindergarten teachers’ competencies in STEM project-based learning. Humanities and Social Sciences Journal, Ubon Ratchathani Rajabhat University, 10(2), 281-294. (in Thai)
Joyce, B. R., Weil, M., & Calhoun, E. (2015). Model of Teaching (9 th ed.). Boston, MA: Pearson.
Minnistry of Education. (2020). Training courses for learning experience in computational science at the kindergarten level. Bangkok: Office of the Basic Education Commission. (in Thai)
Oudta & Wannasri. (2019). A model of competency development for early childhood teacher under local administrative organization. Journal of Education Naresuan University, 22(4), 305-316. (in Thai)
Panich, W. (2012). A way of learning for the disciples in the 21st century. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation. (in Thai)
Piyasri, B. & Nillapun, M. (2015). The professional development model to enhance teaching competency of teachers through differentiated instruction. Silpakorn Educational Research Journal, 7(1), 97-109. (in Thai)
Sinlarat, P. (2014). Paitoon introduces the characteristics of the 21st century thai teachers. Kaosod, 4 May, 23. (in Thai)
Thongthaweyingyos, W. (2017). Factors affecting the professional learning community of teachers in secondary schools. Master’s Thesis. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai)
The Secretariat of the Teachers Council of Thailand. (2019). Operational guidelines of higher education institutions in the role of working group for supervision, monitoring and evaluation organizing professional development activities in a professional learning community of subsidized networks to organize professional development activities as a professional learning community. Meeting papers, Bangkok: The Secretariat of the Teachers Council of Thailand. (in Thai)
Wongwanich, S. (2015). Research to assess the need for necessity (3rd Ed.) revised edition. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)