นวัตกรรมข้อมูลขนาดใหญ่และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธนาคารในประเทศไทย : การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนระหว่างประเภทของธนาคาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
รูปแบบความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน รวมถึงการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีทางการเงิน ได้ส่งผลให้ธนาคารในประเทศไทยมีการปรับตัว โดยนำนวัตกรรมข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ในการดำเนินการ วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ (1) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนวัตกรรมข้อมูลขนาดใหญ่และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธนาคารในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยนวัตกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม และการมุ่งเน้นการตลาดต่อผลการดำเนินงานของธนาคาร และ (3) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนระหว่างโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของธนาคารพาณิชย์กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือพนักงานของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทำงานในสายงานการวิเคราะห์และนำข้อมูลขนาดใหญ่ไปใช้ จำนวน 416 คน ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นในการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า โมเดลดังกล่าวมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมมีอิทธิพลทางบวกต่อการใช้นวัตกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ การมุ่งเน้นการตลาดมีอิทธิพลทางบวกต่อนวัตกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมมีอิทธิพลทางบวกต่อผลการดำเนินงานของธนาคาร การมุ่งเน้นการตลาดมีอิทธิพลทางบวกต่อผลการดำเนินงานของธนาคาร นวัตกรรมข้อมูลขนาดใหญ่มีอิทธิพลทางบวกต่อผลการดำเนินงานของธนาคาร ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนวัตกรรมข้อมูลขนาดใหญ่และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยมีความไม่แปรเปลี่ยนทั้งรูปแบบและพารามิเตอร์ในโมเดลที่มีประเภทของธนาคารแตกต่างกัน ดังนั้น ธนาคารในประเทศไทยสามารถใช้ผลการวิจัยเป็นแนวทางเพื่อใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ในการปรับปรุงผลการดำเนินงานของธนาคารให้มีระดับประสิทธิผลที่สูงขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Ariratana, W., Ngang, T. K., & Sirisooksilp, S. (2019). The Effect of Innovative leadership on competency of creating High Performance Organization. Kasetsart Journal of Social Sciences, 40, 311-318.
Ashrafi, A. & Ravasan, A.Z. (2018). How market orientation contributes to innovation and market performance: the roles of business analytics and flexible IT infrastructure. Journal of Business & Industrial Marketing, 33(7), 970–983.
Bank of Thailand. (2014). Difference between commercial bank and special financial institution. Retrieved January 20, 2021 from https://www.ryt9.com/s/bot/1854438 (in Thai)
Bank of Thailand. (2015). Authorized juristic person. Retrieved January 20, 2021 from: https://www.bot.or.th/Thai/FinancialMarkets/ForeignExchangeRegulations/ForeignMeansOfPaymenBusinesses/ConsentForm/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95.pdf (in Thai)
Chunhachinda, P. (2017). FinTech: towards Thailand 4.0. Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning, 7(1), 1-23. (in Thai)
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Fintechranking. (2016). Infographics: global FinTech landscape. Retrieved February 20, 2021 from: http://fintechranking.com /2016/08/04/infographics-global-fintech-landscape/
Hacken, R. (2015). Big Data: Challenges and opportunities for digital libraries. Provo, UT: Brigham Young University.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Hoch, J.E. (2013). Shared leadership and innovation: the role of vertical leadership and employee integrity. Journal of Business and Psychology, 28(2), 159-174.
Isaksen, S. G. & Akkermans, H. J. (2011). Creative climate: a leadership lever for Innovation. Journal of Creative Behavior, 45(3), 161-187.
Jharotia, A. K. (2016). Big data technology: big opportunity for librarians. In Singh, N. et al. (Ed.), Librarianship in ICT Age. Agra: Y.K. Publishers.
Kline, R. B. (2015). Principles and practice of structural equation modeling. (4th ed.) New York: The Guilford Press.
Kozioł-Nadolna, K. (2020). The role of a leader in stimulating Innovation in an organization. Administrative Science, 10(3), 1-18.
Krungthai Bank. (2017). Fintech: the unsatisfied story of the banking group. Retrieved January 205 2021 from: https://sme.krungthai.com/sme/productListAction.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=37&itemId=94 (in Thai)
Mikalefa, P., Bourab, M., Lekakosb, G. & Krogstie, J. (2019). Big data analytics and firm performance: findings, from: a mixed-method approach. Journal of Business Research, 98, 261–276.
Mubarak, E. (2014). Innovative leaders and its effects on organization’s performance. International Journal of Scientific & Engineering Research, 5(11), 1403-1405.
Phorncharoen, I. (2020). Influence of market orientation, learning orientation, and innovativeness on operational performance of real estate business. International Journal of Engineering, 12, 1-11.
Sulong, M. & Laeheem, K. (2015). Development of a causal relationship model for operations Islamic cooperative in Thailand and test the model invariance between cooperative savings and cooperative service. AL-HIKMAN JOURNAL, 5(10), 27-36 (in Thai)
Wuttipreecha, T. (2019). Data analytic opportunity for business in digital era. Retrieved March 14, 2021. from: https://gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2019/06/MC_hotissue_DataAnalytic_inter_detail.pdf (in Thai)